ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามขอบข่ายงานวิชาการ 6 ด้าน (2) ศึกษาความแตกต่างของประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารจำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งงาน ตำแหน่งวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน และ (3) รวบรวมปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนที่ปฏิบัติหน้าที่บริหารงานวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 260 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน และ สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 54 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษา ตำแหน่งงาน และผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พบความแตกต่างของผู้บริหารที่มีตำแหน่งวิทยฐานะต่างกัน โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ปัญหาการบริหารงานวิชาการที่สำคัญ คือ ปัญหางบประมาณด้านการจัดซื้อสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษามีไม่เพียงพอ ปัญหาครูมีภาระงานอื่นมากเกินไปนอกเหนือจากงานสอน
Academic Administrative Efficiency of Secondary School Administrators in Nakhon Si Thammarat
The objectives of this research were to study (1) the academic administration in secondary school’s administrators in Nakhon Si Thammarat including 6 aspects, (2) the differences in the academic administrative efficiency of administrators in relevance to educational degree, position, academic level, work experience and school size, and (3) the problems of the academic administration. Two hundred and sixty subjects were randomly selected from school administrators using stratified sampling and simple random technique. The data were collected through a rating-scale questionnaire eliciting their perception of academic administrators efficiency. The overall reliability coefficient of the questionnaires was .96. The statistics used in data analysis included percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and LSD multiple comparisons.
It was revealed that the academic administrators efficiency of school administrators as a whole and in each individual aspect was at good level. There was a significant difference of overall at .001 in educational degree, position, and personnel who worked in different school size. Such differences were also statistically significant in the aspect of academic level at .01. In addition, there was no significant difference of the overall academic administrators efficiency among those with different working experiences. There was some problems in terms of (1) inadequate budget for providing educational media and technology and (2) overload of non-teaching activities.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.