การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ (2) เปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์ในการอบรม ขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ระดับการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล เรียงตามลำดับ คือ หลักคุณธรรม หลักการคุ้มค่า หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส ตามลำดับและ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ หลักการมีส่วนร่วม การเปรียบเทียบระดับการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์ในการอบรม เรื่อง การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และ ขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน
Implementation of Good Governance by School Administrators under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 3
This research aimed to study and compare the implementation of good governance by school administrators under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 3 according to their educational backgrounds, work and training experiences, and school sizes. One hundred and fifty-two school administrators who were supervised by the office in 2013 participated in the study. A questionnaire was used as research instrument. Statistical analysis of percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and one-way analysis of variance (One-Way ANOVA) was used. Results showed that in overall, the implementation of good governance by the school administrators under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 3 was at a high level. When considering each aspect of good governance separately, moral aspect was ranked highest followed by cost-effectiveness, rule of law, accountability and transparency, respectively. Principles of administration cooperation in classifying the level of basic education administration was rated lowest. In addition, the implementation of good governance by school administrators classified by their educational backgrounds, work and training experiences, and school sizes in general was not significantly different in all aspects.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.