ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 29 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 29 คน และครูผู้สอน จำนวน 264 คน รวม 322 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า (1) การนิเทศภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการนิเทศ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการพัฒนาครูผู้สอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประเมินผลการนิเทศ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับควรปรับปรุง โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาษาไทย รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ภาษาต่างประเทศ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เกิดจากการทำแบบทดสอบประเมินผลระดับชาติ ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในของสถานศึกษาในแต่ละด้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The Relationship between Learning Supervision and Learner’s Achievement in Schools under the Office of Surat Thani Primary Educational Service Area 3
The purposes of this research was to investigate the relationship between learning supervision and the learners’ educational achievement in schools under the Office of Surat Thani Primary Educational Service Area 3. The samples were 29 administrators, 29 chief academic, 264 teachers and totaling 322. Research tool were questionnaires and data analysis were percentage, frequency, mean, standard deviation and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient.
The research results found that; (1) The learning supervision in schools was at high level. The maximum average was planning supervision, followed by the development of the course and teachers development. The minimum aspect was supervision evaluation. (2) The learning achievement found the maximum average was Thai, followed by the Social studies religion and culture aspects with a minimum average of English. (3) The relationship between learning supervision and learner’s achievement in schools was positive rather to high level and there was statistical significance at .01 level. However, it was found that each aspect compared with learner’s achievement was positive and there was statistical significance at .01 level.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.