ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน

Main Article Content

ปุณณดา อินทรเทศ
สุวิทย์ นิ่มน้อย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา 4 ประการดังนี้ (1) การกําหนดประเภทของโครงการโดยใช้ ระบบบัญชีประเภทโครงการ (2) การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการ ผู้ชํานาญการ (3) การบังคับให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ (4) ความซ้ําซ้อนในการใช้อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจํานวน 100 คน และข้าราชการสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์โดยเก็บรวบรวมแบบสอบถามและสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยคํานวณหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเด็นปัญหาตาม พ.ร.บ.ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รวมทั้ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวง และนํา ประเด็นปัญหาทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎี และหลักการจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อรวบรวมสาเหตุแห่งปัญหาและเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหา

ผลการวิจัยพบว่า (1) ประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการที่ต้องทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯ ลงวันที่ 24 เมษายน 2555 ยังไม่ครอบคลุมถึงโครงการบางประเภทที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการดูดทรายจากแม่น้ํา สนามกอล์ฟ โครงการบ่อฝังกลบขยะ โครงการกําจัดขยะติดเชื้อ โครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ําท่วม อุตสาหกรรมระเบิดหิน โรงงานผลิตถ่านโค้ก และ ฟาร์มสุกรหรือฟาร์มไก่ขนาดใหญ่ ส่วนหนึ่งพบว่าช่องทางการ เพิ่มประเภทโครงการในประกาศฯ มีช่องทางเดียวโดยผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติยังไม่เปิดกว้าง เพียงพอ รวมทั้งการคัดค้านจากกลุ่มนายทุนที่เสียผลประโยชน์ ส่วนประเภทโครงการที่อยู่ในประกาศฯ ได้ใช้ ช่องว่างของกฎหมายหลีกเลี่ยงการจัดทํารายงานฯ เนื่องจากแม้มีการฝ่าฝืนไม่จัดทํารายงานฯ กฎหมายก็ไม่มี บทลงโทษ (2) การพิจารณารายงานฯของคณะกรรมการผู้ชํานาญการขาดหลักเกณฑ์ที่แน่นอน กฎหมายเปิด โอกาสให้คณะกรรมการผู้ชํานาญการสามารถใช้ดุลพินิจอย่างมาก ทําให้ขั้นตอนการพิจารณาล่าช้าใช้ระยะเวลา มากกว่าที่กฎหมายกําหนด มีการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมและเป็นภาระแก่ประชาชน เมื่อมีการขัดแย้งทางความ คิดเห็นระหว่างคณะกรรมการผู้ชํานาญการกับเจ้าของโครงการ กฎหมายไม่ได้กําหนดกลไกหรือระบบแก้ไขข้อ ขัดแย้งในความคิดเห็นที่แตกต่าง (3) สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการผู้ชํานาญการ และพนักงานควบคุมมลพิษ ไม่มีอํานาจยับยั้งหรือระงับโครงการที่ไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขในรายงานฯ และ (4) การจัดทํารายงานฯ เพื่อขออนุมัติต่อสํานักงานนโยบายและแผนฯ กับการยื่นขอ อนุญาตก่อสร้างโครงการต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหัวข้อประเด็นที่ซ้ําซ้อน ทําให้เป็นการเพิ่มขั้นตอนและ เป็นภาระแก่ประชาชน

 

Legal Problems and Obstacles on the Impact of Building Construction on the Environment and Public Health

This research has objectives to study: (1) problems in determining the type of projects using category list system; (2) problems in considering reports of Environment Impact Assessment (EIA) of Specialist Committees; (3) problems in enforcing the compliance with the conditions specified in the report; and (4) problems of duplication of authority among government agencies. The researcher studied from sample group population, comprising 100 government officers of local governing organizations and 20 government officers of the Ministry of Natural Resources and Environment. Research tools consisted of questionnaires and interviews. The researcher collected questionnaires and interviews by himself. The analysis was made by calculating the data to find for mean score, and percentage, and studying from the interviews with the experts on the problematic issues of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 (1992), the Building Control Act, B.E. 2522 (1979), as well as Ministerial Regulations concerned. All problem and issues were analyzed by applying concepts, theories and principles, from books, articles, theses and electronic data accessed via the internet, to identify the causes of problems and provide recommendation and guidelines for problem solving.

From the research result, it is found that (1) the Notice of Ministry of Natural Resources and Environment regarding the determination of type and size of project or business required to prepare a report on environmental impact assessment dated April 24, 2012 does not cover certain types of projects affecting environment, namely projects of sand pumping from river, golf course, land fill, infectious waste disposal, flood way, quarry industry, coke factory, large swine or chicken pasture; it is found that, in some part, a channel for increasing the types of projects in the notice has only one channel through the National Environmental Board, which is not wide enough. Moreover, a capitalist group being lost in interests, who states an objection in certain types of projects in the Notice has used the legal gap to avoid making a report as even if there is violation in not making a report, the penalty cannot be enforced as not stipulated in the laws; (2) the consideration of reports by the board, professional level, lacks clear standards. The laws give an opportunity for the board, professional level, to be able to use discretion considerably, rendering a procedure in consideration to be slow, spend time exceeding the time stipulated by the laws, have unfair discrimination and to be a burden for people. When there is a conflict in opinions between the board, professional level with owners of projects, the laws do not stipulate mechanisms or systems for correcting conflict in different opinions; (3) Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, the board, professional level and pollution control officers do not have a power to prevent or suspend the projects not complied with conditions in the report; and (4) making of report in order to apply for approval to Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning and an application for requesting an approval for building projects to Local Administrative Organization has redundant topics and matters, adding procedures and burdens to people.

Article Details

How to Cite
อินทรเทศ ป., & นิ่มน้อย ส. (2015). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 8(1), 17–26. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83317
Section
Research Manuscript