ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต่อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วิไลรัตน์ ชูช่วย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต่อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล กับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต่อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนร่อนพิบูลย์วิทยา อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย และวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ 2 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น .85

ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต่อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคลสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กําหนดไว้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสองวิธี และ (2) คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต่อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคลไม่แตกต่างกัน

 

Effects of Jigsaw and Team-Assisted Individualization Learning Management on Mathematics Achievement of Grade 3 Students

The objectives of this research were to (1) compare mathematics learning achievement of grade 3 students after being taught through jigsaw and team-assisted individualization techniques with an average benchmark of 80 percent of the posttest scores; and (2) compare between the learning achievements of the students who were taught through the two techniques. The subjects were 40 grade 3 students of RonpiboonWittaya School, Ronpiboon, Nakhon Si Thammarat of the academic year 2013. They were randomly assigned into two groups. A statistical package was used to analyze mean, standard deviation, and t-test. The research instruments were two learning management plans and a mathematic test with a reliability coefficient of .85.

The findings revealed that (1) the students of the two groups scored above the average benchmark after the intervention of the two techniques at .05 level of statistical significance, and (2) the scores of students in the jigsaw group and the team-assisted individualization learning group did not differ significantly.

Article Details

How to Cite
ชูช่วย ว. (2015). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต่อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 8(1), 55–60. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83323
Section
Research Manuscript