ปัจจัยทางการบริหารที่สัมพันธ์กับการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารและการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 608 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแล้วทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการบริหาร และการบริหารจัดการหลักสูตร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหาร และการบริหารจัดการหลักสูตรจำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูงกับการบริหารจัดการหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยทางการบริหารซึ่งเป็นตัวแปรพยากรณ์ทั้งหมด มี 4 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (X1) ปัจจัยด้านบุคลากร (X2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (X3) และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X4) สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการหลักสูตรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .905 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 81.90 สร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการหลักสูตรได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ =.357+.542(X4)+.275(X2)+.149(X3)-.058(X1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน =.577(ZX4)+.316(ZX2)+.147(ZX3)-.067(ZX1)
Administrative Factors Related to Curriculum Management of Primary Schools Under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 3
The objectives of this research were to (1) study and compare administrative factors and curriculum management of primary schools in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 3, classified by status of school administrator, chief of academic division and teacher and, (2) study relationships between the administrative factors and curriculum management. The sample comprised 608 school administrators, chief of academic division and teachers. The sample size derived using the table of Krejcie and Morgan. The school units were using in this random with multi-stage stratified random sampling. The research instrument was a rating scale questionnaire with the reliability of 0.97. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA, Scheffe’s Method, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The research results revealed that: (1) The administrative factors and curriculum management were at a high level. (2) The comparing results of the administrative factors and curriculum management was statistically significant difference at .01 level and, (3) administrative factors were in highly positive correlation with curriculum management at the .01 level. The administrative factors which all predictor variables are; leadership (X1), personnel (X2), motivation (X3), and participatory (X4), that predictive curriculum management have statistically significant at the .01 level, with a multiple correlation coefficient was 0.905 and a power of prediction was 81.90 percent. Prediction equations derived from the curriculum management were as follows: Regression equation in the form of raw scores: =.357+.542(X4)+.275(X2)+.149(X3)-.058(X1) and Regression equation in the form of standard scores: =.577(ZX4)+.316(ZX2)+.147(ZX3)-.067(ZX1)
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.