การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จุรีรัตน์ สุดใจ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ความแตกต่างของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครู ตามตัวแปร เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน ขนาดของโรงเรียน และเพศของผู้บริหาร และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 338 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการทดสอบ LSD

ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูมีทัศนะต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี (2) การศึกษาความแตกต่างของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลพบว่าครูและผู้บริหารที่มีเพศต่างกัน ครูมีทัศนะต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 ตามลำดับ ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย ผู้บริหารขาดความเป็นธรรม ไม่นำกฎระเบียบที่วางไว้มาใช้กับบุคลากร ขาดการวางแผนในการใช้ทรัพยากร และมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ผู้บริหารควรได้รับการอบรม พัฒนา ควรมีบทลงโทษที่ชัดเจนต่อบุคลากร ควรทัศนศึกษาในพื้นที่เพื่อประหยัดงบประมาณ

 

Good Governance Administration as Perceived by the Teachers in Educational Expansion Schools in Nakhon Si Thammarat

The objectives of this research were to 1) study and compare educational expansion school teachers’ perceptions towards good governance administration in Nakhon Si Thammarat in relevance to gender, educational level, work experience, school size and gender of the school administrators, and (2) examine problems and suggestions in pertinent to good governance administration. A sample of 338 educational expansion school teachers was selected through stratified random sampling. The instrument used was a questionnaire which contained a five-level rating scale and open-ended questions with the reliability value of 0.95. The elements of statistics used in analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, One way ANOVA, and LSD multiple comparisons.

It was found that in overall, (1) the teachers perceived both general and specific type of good governance administration as good. (2) Gender differences of both teachers and administration caused differences in perceptions towards good governance administration. These differences were found to be statistically significant at .001 and .01 levels respectively. in addition, teachers with different educational levels and different school sizes perceived good governance administrations as a whole differently at .05 level of significance. No difference was found among teachers who had different years of teaching experience and 3) In terms of problems, it was found that the administrators were unfair, did not follow the rules and regulations as set earlier, lacked good planning of using resources. It was suggested that they should be trained, develop a good punishment system for staff and organize local study tours to save school budgets.

Article Details

How to Cite
สุดใจ จ. (2014). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 7(2), 61–70. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83375
Section
Research Manuscript