ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของการตั้งครรภ์ของนักเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อัญมณี เพียรแก้ว
งามนิตย์ รัตนานุกูล
อัจจริยา วัชชราวิวัฒน์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการตั้งครรภ์ของนักเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นปีที่ 1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 52 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 26 คน เครื่องมือประกอบด้วยโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการตั้งครรภ์และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการตั้งครรภ์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีอิสระ และทีคู่

ผลการวิจัยพบว่าก่อนการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการตั้งครรภ์ไม่แตกต่างกัน แต่หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการตั้งครรภ์โดยรวมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ยกเว้น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศด้านการดื่มสุราหรือของมึนเมาและการใช้สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ด้านการอยู่ลำพังสองต่อสองกับเพศตรงข้าม นักเรียนทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>.05)

 

Effects of the Empowerment Program on Preventing Risk of Sexual Behavior towards Pregnancy of Vocational College Students in Thung Song, Nakhon Si Thammarat

 The objectives of this research were to examine the effects of an empowerment program on preventing risk of sexual behaviors towards pregnancy of vocational college students in Thung Song, Nakhon Si Thammarat. The sample consisted of 52 teenage girl students. They were assigned into an experimental (n=26) and a control group (n=26). Research tools comprised an empowerment program for preventing risk of sexual behaviors towards pregnancy and the questionnaire measuring risk of sexual behaviors, which had reliability of .80. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviations, independent t-test and paired t-test.

The findings revealed the followings: the students of the control group and experimental group was not statistically different in risk of sexual behaviors towards pregnancy before and after the experiment. The students who received the empowerment program had overall scores in risks of sexual behaviors towards pregnancy significantly lower than the control group (P<.05). However mean scores in risks of sexual behaviors after the program in the aspect of alcohol drinking, drug addiction, and staying alone with the opposite sex person were not different between the experimental and control groups
(P>.05).

Article Details

How to Cite
เพียรแก้ว อ., รัตนานุกูล ง., & วัชชราวิวัฒน์ อ. (2014). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของการตั้งครรภ์ของนักเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 7(2), 79–86. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83394
Section
Research Manuscript