ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กิตติศักดิ์ แสงทอง
อิศรัฏฐ์ รินไธสง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน โดยศึกษาในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพก่อนแล้วใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 75 คน และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 50 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผู้บริหาร สมาชิกสภาและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 150 คน และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า 1) จากการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่ามี 82 ตัวชี้วัดที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน 2) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่ามี 7 องค์ประกอบ 82 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ (2.1) ความเป็นผู้นำ มี 10 ตัวชี้วัด (2.2) ความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วม (ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย หลังเกิดภัย) มี 30 ตัวชี้วัด (2.3) ขีดความสามารถ มี 6 ตัวชี้วัด (2.4) กระบวนการเรียนรู้ มี 10 ตัวชี้วัด (2.5) การติดต่อสื่อสาร มี 10 ตัวชี้วัด (2.6) ความสัมพันธ์ทางสังคม มี 10 ตัวชี้วัด และ (2.7) หลักธรรมาภิบาล มี 6 ตัวชี้วัด 3) จากการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า องค์ประกอบการติดต่อสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากต่อความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน 

 

Factors Related to Collaboration for Flood Management between Local Administrative Organization and Community: A Case Study of Flood Bed in Pak Panang Basin, Nakhon Si Thammarat Province

The objective of the research was to study the factors related to collaboration for flood management between local administrative organization and community of each factor using reporting of flood bed in Pak Panang basin, Nakhon Si Thammarat Province. The research used both qualitative and quantitative methods. First, the researcher in-depth interviewed with 75 flood victims and focus group discussion with 50 participants consisting of administrators, members of council and officers of local administrative organizations was also implemented using purposive sampling and content analysis. Next, the researcher conducted a survey, asking 150 respondents from the above four groups consisting of flood victims, administrators, members of council and officers of local administrative organizations. The data were analyzed using descriptive statistics including the exploratory factor analysis and Pearson Product-moment correlation coefficient.

The research results were found as follows: 1) A total of 82 observed variable indicators of relation to collaborate for flood management between local administrative organization and community were explored by content analysis. 2) The 7 factors and 82 indicators were ranked with exploratory factor analysis: leadership 10 indicators, collaboration for flood management (pre – impact phase, impact phase and post – impact phase) 30 indicators, capacity 6 indicators, learning process 10 indicators, communication 10 indicators, social relation 10 indicators, and good governance 6 indicators. 3) The communication was the most influential factors to collaboration for flood management between local administrative organization and community were ranked with Pearson Product-moment correlation coefficient.

Article Details

How to Cite
แสงทอง ก., & รินไธสง อ. (2014). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 7(1), 25–32. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83442
Section
Research Manuscript