ความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะของรัฐกับประชาชน อันเกิดจากการดำเนินโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน: ข้อมูลเชิงคุณภาพจากโครงการถมที่ดินในทะเลและการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเลพื้นที่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ไชยา เกษารัตน์
ชาลี ไตรจันทร์
อิศรัฏฐ์ รินไธสง
อาคม ใจแก้ว

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเสนอวิธีการจัดการความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะของรัฐกับประชาชนจากการดำเนินโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในโครงการถมที่ดินในทะเลและการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล บริเวณพื้นที่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นและตัวแทนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของโครงการ และได้จัดการสนทนากลุ่มในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ผลการศึกษา พบว่าสภาพปัจจุบัน บริเวณฝั่งซ้ายของการสร้างเขื่อนปากคลองสะกอมได้รับผลกระทบจากการถูกกัดเซาะอย่างเห็นได้ชัด ชายหาดมีความชันเหมือนหน้าผาสูงกว่า 3 เมตร ส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเกิดการเรียกร้องให้ส่วนราชการเข้ามาแก้ปัญหา ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะของรัฐกับประชาชนนั้นมี 2 ปัจจัยหลัก คือ (1) ทัศนคติเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีต่อการดำเนินโครงการฯ และ (2) ความหวาดระแวงหรือความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินโครงการฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหาคือการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน การมีทัศนคติที่ตรงกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อความไม่ไว้วางใจระหว่างกันทั้งจากผู้ดำเนินโครงการ คือรัฐและประชาชนในพื้นที่เขตการพัฒนาของโครงการพัฒนานั้น

 

Imbalance between the Public Interest of the State and People from the Project or Activity that May Cause Negative Impact: Qualitative Method from the Project of Land Reclamation in the Sea and Construction or Expansion on Grounds or in the Sea (LRCES) in Area of Sakom Subdistrict, Chana District, Songkhla Province

The objective of the research was to study status and propose managing methods the imbalance between the public interests of the state and people from the LRCES in Sakom Subdistrict, Chana District, Songkhla Province. The article would focus on the used of the qualitative instrument in the study. A focus group discussion was arranged for data elicitation on April 9, 2013 from 9:00 a.m. to 12:00 p.m. at the meeting room of the Sakom Subdistrict Administrative Organization. Informants consisted of agencies of the local people, local leaders, officers from the central government, regional or local authorities and the executive or staff involved in the project.

Two main issues surfaced during the focus group discussion. The first issue concerned damage to a dam which was a past of the sea construction project in the Sakom subdistrict. The landscape on the left side of the dam had been significantly damaged from erosion and this has resulted in the formation of steep cliffs over three meters height on the beach. The second issue concerned two main factors that caused an asymmetry between the public interest of the state and the people were: (1) the attitude of government officials on the project, and (2) the mistrust of people towards the project and government officials. Therefore a resolution of this problem could create a common understanding, exchange information between the state and the people, and for the government to adjust their communication strategy which resulted in mistrust between the state and people of the area surrounding the development of the project.

Article Details

How to Cite
เกษารัตน์ ไ., ไตรจันทร์ ช., รินไธสง อ., & ใจแก้ว อ. (2014). ความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะของรัฐกับประชาชน อันเกิดจากการดำเนินโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน: ข้อมูลเชิงคุณภาพจากโครงการถมที่ดินในทะเลและการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเลพื้นที่ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 7(1), 33–40. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83446
Section
Research Manuscript