ความพึงพอใจของผู้รับบริการ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านโครงสร้างพื้นฐาน/สาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุข ด้านสังคม/สวัสดิการ และด้านการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 2,757 ครัวเรือน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก (3.60±0.60) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับพอใจมาก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ (3.71±0.52) ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ (3.64±0.51) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (3.55±0.49) ด้านสาธารณสุข (3.81±0.52) ด้านสังคม/สวัสดิการ (3.74±0.52) และ ด้านการศึกษา (3.74±0.51) และระดับพอใจปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน/สาธารณูปโภค (3.00±0.71) นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงระบบน้ำทั้งปริมาณและคุณภาพ(น้ำดื่ม) สภาพถนน ระบบไฟฟ้าส่องสว่างข้างทางและในครัวเรือน และระบบการดูแลซ่อมแซมอย่างสม่ำเสมอ
The Satisfaction of Clients’ Service Case study: The Na Khayad Municipality, Amphur Kuankanun, Phatthalung Province
The purposes of this research were to study the level of clients’ satisfaction to the service facility, infrastructure, public health, social/welfare and education. The size of random population was 350 participants (out of 2,757 households) who inhabited in the municipality of Na Khayad, Amphur Kuankanun, Phattalung Province. The questionnaires were employed and analyzed covering in 7 categories e.g. officer’s service, process of service, facilities, infrastructure, public health, social/welfare and education. Frequency, percentages, mean, standard deviation and t-test were used for statistical analysis. The results showed that the overall clients’ satisfaction was 3.60±0.60, indicating high satisfaction level. Only the infrastructure’s service was at moderate satisfaction level (3.00±0.71) and the remainder 6 categories (officer’ s service, process of service, facilities, public health, social / welfare and education) were at high satisfaction level. The recommendations were the improvement of water system in terms of quantity and quality (drinking water), road condition, public electricity along the road as well as access to all houses and uniform maintenance system.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.