สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides (L.) Pers.): พรรณไม้น้ำเด่นของแม่น้ำเพชรบุรี

Main Article Content

สิทธิ กุหลาบทอง
สาวิกา กัลปพฤกษ์
พัชรินทร์ สายพัฒนะ

Abstract

สันตะวาใบพายเป็นพรรณไม้น้ำเด่นของแม่น้ำเพชรบุรีที่มีศักยภาพการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจได้ เนื่องจากเป็นพรรณไม้น้ำที่นิยมนำไปเป็นไม้ประดับตู้เลี้ยงสัตว์น้ำจืด อีกทั้งใบอ่อนและช่อดอกสามารถใช้ในการรับประทานได้และเป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางด้านการรักษาโรค และสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ สันตะวาใบพายเติบโตได้ดีในพื้นท้องน้ำที่มีลักษณะเป็นโคลนและมีปริมาณแร่ธาตุอาหารสูง การเพาะขยายพันธุ์ทำได้ทั้งการเพาะจากเมล็ดและการแยกหน่อ สันตะวาใบพายเริ่มเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 45–60 วัน และเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน สามารถผลิตผลได้ประมาณ 15–30 ผล/ต้น โดยเฉลี่ยสันตะวาใบพายเป็นพืชอายุปีเดียว และในธรรมชาติจะตายในช่วงฤดูแล้ง

 

Eelgrass (Ottelia alismoides (L.) Pers.): A Dominant Aquatic Plant in Phetchaburi River

Eelgrass (Ottelia alismoides (L.) Pers.) is a prominent submerged aquatic plant in Phetchaburi River.  It has an economic potential to develop for commercial production due to its popularity among freshwater aquarium hobbyists.  Moreover, young leaves and inflorescences (flowering shoots) can be eaten freshly as an herbal vegetable. It also has some crucial properties of efficient antibacterial agent of tuberculosis and abnormal lymph gland. Aside from being used as vegetable and herb, eelgrass has also been utilized as animal feed. The plants grow up well in submerged water area where the mud bottom has high nutrients. This plant can be propagated from both seeds and shoot buddings. It normally takes 45-60 days to reach the reproductive stage, and the full maturity stage is about 6 months.  Mature plants can produce 15-30 pods per plant. Eelgrass is annual plant and it naturally dies in dry season.

Article Details

How to Cite
กุหลาบทอง ส., กัลปพฤกษ์ ส., & สายพัฒนะ พ. (2013). สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides (L.) Pers.): พรรณไม้น้ำเด่นของแม่น้ำเพชรบุรี. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 6(2), 69–76. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83797
Section
Review Manuscript