สภาวะสบายของมนุษย์จากภูมิปัญญาในการอยู่อาศัยร่วมกับนิเวศวัฒนธรรม กรณีศึกษา : เรือนพื้นถิ่นชุมชนรำแดง - ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง

Main Article Content

นราธิป ทับทัน

Abstract

การศึกษาสภาวะสบายที่เกิดจากภูมิปัญญาในการอยู่อาศัยร่วมกับนิเวศวัฒนธรรม เป็นการศึกษาและทดสอบเรือนพื้นถิ่นกรณีศึกษา เพื่อประเมินสภาวะสบายของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมทั้งสภาวะสบายเชิงอุณหภูมิ สภาวะสบายทางการมองเห็น สภาวะสบายทางการได้ยิน และสภาวะสบายเชิงคุณภาพอากาศ โดยเลือกเรือนพักอาศัยของนางสาวอุบล บุญรัตน์ ในชุมชนรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นตัวแทนเรือนพื้นถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง เพื่อใช้ในการศึกษาและทดสอบ

ผลการศึกษาเรือนพื้นถิ่นกรณีศึกษาพบว่า เรือนพื้นถิ่นชุมชนรำแดง-ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง  เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาในการปรับตัวของชาวบ้าน ตามวิถีวัฒนธรรมชาวใต้ โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นผ่านการถ่ายทอดระบบ วิธี และเทคโนโลยี สืบเนื่องกันในชุมชนอย่างค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับนิเวศของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  จนเกิดวิถีการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อการเกิดสภาวะสบายของมนุษย์  สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในการปรับตัวให้วิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมมีความสมดุล

 

Human Comfort by Living with Folk Wisdom and Cultural Ecology  A Case study of Vernacular House in Ramdaeng Community - Southern Songkhla Lake

Human comfort by living with folk wisdom and cultural ecology is a study of vernacular house, by selecting Ubon Boonyarat's house in Ramdaeng community, Amphoe Singhanakhorn, Songkhla as representative in Southern Songkhla Lake, to appraise the human comfort which related to the architecture elements; thermal comfort, visual comfort, audio comfort, and air quality comfort.

Based on the study, it is found that Ramdaeng, vernacular houses in southern Songkhla Lake, is a significant result of wisdom and self-adaptability for locals to blend with their own tradition and culture. With simple use of local materials through processes and technology over generation to generation among the community, it gradually forms the ecosystem and way of life along Songkhla Lake which led to human comfort. This also shows the dwelling around Songkhla Lake that they are able to balance between their life and environment harmoniously. 

Article Details

How to Cite
ทับทัน น. (2013). สภาวะสบายของมนุษย์จากภูมิปัญญาในการอยู่อาศัยร่วมกับนิเวศวัฒนธรรม กรณีศึกษา : เรือนพื้นถิ่นชุมชนรำแดง - ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 6(2), 77–84. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83800
Section
Academic Manuscript