โทรศัพท์เพื่อการศึกษา

Main Article Content

พัชรี ดอกพุฒ

Abstract

โทรศัพท์มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการใช้และพกพา รวมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร จึงทำให้มีการพัฒนาโทรศัพท์ให้มีความสามารถพิเศษ รองรับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้ เป็นไปตามความสามารถตามมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ในการทำงานและจัดเก็บ จึงทำให้โทรศัพท์สามารถนำมาใช้ในการอ่าน บันทึก หรือการเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้โทรศัพท์เพื่อการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ทางไกลผ่านโทรศัพท์ เป็นการเรียนที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลได้ตามต้องการ ในทุกที่ทุกเวลา และเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง บทความนี้ จึงนำเสนอเกี่ยวกับ (1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโทรศัพท์ (2) โทรศัพท์เพื่อการศึกษา ตั้งแต่ความหมายของโทรศัพท์เพื่อการศึกษา ประโยชน์ของโทรศัพท์เพื่อการศึกษา และการจัดสภาพแวดล้อมของโทรศัพท์เพื่อการศึกษา (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการการบูรณาการเทคโนโลยีในชั้นเรียน (4) อุปสรรคในการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการในชั้นเรียน และ (5) งานวิจัยเกี่ยวกับโทรศัพท์เพื่อการศึกษา         


Mobile Learning

The mobile is small, light weight, ease of use and portability. The progress of technology and communication development of the mobile talent and supports various operating systems that have the ability to operate standard computer and storage. As a result, the mobile can be used to read, note or access information on the Internet.

The present of modified in mobile application for the mobile distance learning (mobile learning or M-learning) is to provide a flexible learning. Students can access the content that they need anytime and anywhere that support lifelong learning.

The purposes of this paper were: (1) introduction to the mobile (2) mobile learning: included the definition of mobile learning, the benefits of mobile-learning and the setting of mobile learning environment (3) factors affecting the integration of technology in the classroom (4) barriers to the adoption of technology integration in the classroom, and (5) research on the mobile learning.

Article Details

How to Cite
ดอกพุฒ พ. (2013). โทรศัพท์เพื่อการศึกษา. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 6(2), 85–94. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/83801
Section
Academic Manuscript