รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

พรวีนัส อัมพวัน
ปรีชา สามัคคี
กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ (3) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 จำนวน 50 คน กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จำนวน 35 คน กลุ่มใช้จริง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าประสิทธิภาพ E1/E2


ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยระดับมัธยมศึกษา คือ ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีเจตคติที่ดีในการเป็นพลเมือง นักเรียนมีความรู้ด้านทฤษฎีแต่ในทางปฏิบัตินักเรียนยังขาดจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยด้านการวัดผลและประเมินผล (2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีผลการประเมินความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ .63 และเมื่อนำไปทดลองใช้มีประสิทธิภาพ 81.5/88.77 ซึ่งเป็นตามเกณฑ์ 80/80 และทดลองใช้แบบทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 มีค่าความยากง่ายเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ .55 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ .24 ซึ่งมีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 คือ มีความยากง่ายพอเหมาะ สามารถจำแนกผู้เรียนได้ และ (3) ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า คะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้น 7.28 และมีผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำหน่วยที่ 3 เท่ากับ 26.22 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีผลการประเมินทักษะความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย ด้านคารวะธรรม ( \inline \bar{X} =4.71) ด้านสามัคคีธรรม ( \inline \bar{X} =4.66) ด้านปัญญาธรรม ( \inline \bar{X} =4.67) อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/1 มีทักษะความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอยู่ในระดับมากที่สุด ( \inline \bar{X} =4.68)

Article Details

How to Cite
อัมพวัน พ., สามัคคี ป., & สายจันทร์ ก. แ. (2018). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 79–85. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/84451
บท
บทความวิจัย

References

Khammani, T. (2012). Process Learning: Awide Choice. Bangkok:ChaulalongKorn University Printing House. [in Thai]
Ministry of Education,The Basic Education Core Curriculum A.D. (2008). Bangkok,The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing House. [in Thai]
Prasansoy, W. (2004). Computer-Assisted Lesson: An Educational Innovation. 2thed. Bangkok: Med Sai Printing. [in Thai]
Rethjaruen, P. (2001). Educational Measurement and Evaluation. 2thed. Bangkok: n.p. [in Thai]
Romru, I. (2010). The Development of Blended Learning. To Enhance the Pursuit of self-Bangkok: King Mongkut's University of Technology. [in Thai]
Taveerat, P. (2000). Research Methods in Behavioral Science and Social Sciences. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Techatanon, S. (2008). Comparison of Learning Results in the Social Studies, Religion and Culture Learning Substance Group Entitled ‘Thailand Geography’ of Mathayom Suksa 1 Students Through the 4 MAT Learning Activity Arrangement Versus Through the Thinking Diagram. M.Ed. Thesis, Mahasarakham University. [in Thai]
Wongwanit, S. (2002). Tips for Classroom Research Writing. Bangkok: Aksorn Thai Printing. [in Thai]