องค์ประกอบและตัวชี้วัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นชั้นภูมิ จำนวน 1,089 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .970 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประสานงานกับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีนักศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษากลับมาสัมมนาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้แบบสอบถามคืนกลับมา 1,044 ฉบับ (ร้อยละ 95.870) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นชั้นภูมิ จำนวน 1,089 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .970 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประสานงานกับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีนักศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษากลับมาสัมมนาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้แบบสอบถามคืนกลับมา 1,044 ฉบับ (ร้อยละ 95.870) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มี 13 องค์ประกอบ 94 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 58.314 คือ 1) องค์ประกอบด้านแก่นของจิตวิญญาณความเป็นครู ได้แก่ รักและศรัทธาในอาชีพครู (7 ตัวชี้วัด) มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อนักเรียน (7 ตัวชี้วัด) เข้าใจคนอื่น (5 ตัวชี้วัด) ศรัทธาสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ (6 ตัวชี้วัด) เห็นคุณค่าของจิตใจมากกว่าวัตถุ (4 ตัวชี้วัด) และรู้จักและเข้าใจตนเอง (3 ตัวชี้วัด) 2) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิต ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ (24 ตัวชี้วัด) เป็นแบบอย่างที่ดี (7 ตัวชี้วัด) ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (8 ตัวชี้วัด) คุณธรรมจริยธรรม (5 ตัวชี้วัด) ก้าวทันและใช้เทคโนโลยี (5 ตัวชี้วัด) และพัฒนาตนเอง (5 ตัวชี้วัด) และ 3) ด้านการคงอยู่ของจิตวิญญาณความเป็นครู ได้แก่ ความสุขจากการทำหน้าที่ (8 ตัวชี้วัด)
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Chalaktong. W. (2016). The spirituality of teachers: a key characteristic of professional teachers. Nakhon Phanom University Journal, 16(2), 123-128. [in Thai]
Chantrarachai, P., Chaikit, M., Wata, C., & Meechaeg, S. (2008). A causal relationship model of professionalization of teachers in the basic education school. Journal of Education Naresun University. (Special Issue), 17-40. [in Thai]
Charoensuk, O. (2016). A construction validity testing of teacher spirituality measurement model of teacher students in bachelor degree program of education Srinaharinwirot university: multiple groups analysis. Journal of Research Methodology, 29(2), 189-206. [in Thai]
Janesawang, T. (2011). Teacher Spirituality Experience: A Phenomenological Study. Unpublished Doctoral Dissertation, Srinakarinwirot University, Bangkok, Thailand. [in Thai]
Jansawang, T., Yoelao, D., Singsuriya, P., & Chitcharas, N. (2012). Teacher spirituality experience: a phenomenological study. Journal of Behavioral Science, 18(1), 56-65. [in Thai]
Kaensan, A., Chalakbang, W., Phengsawat, W., & Steanoppakao, P. (2017). Developing indicators of spirituality of teachers under the Office of the Basic Education Commission. Nakhon Phanom University Journal, 7(1), 7-15. [in Thai]
Kernochan, R. A., McCormick, D. W., & White, J. A. (2007). Spirituality and the management teacher: Reflections of three Buddhists on compassion, mindfulness, and selflessness in the classroom. Journal of Management Inquiry, 16(1), 61-75.
Lawthong, N., & Visessuvanapoom, P. (2010). Development of the teacher spirituality scale. Journal of Research Methodology, 23(1), 25-54. [in Thai].
Ibrahim, F. (1991). Spiritual Nursing. Bangkok: Ruenkaew Printing. [in Thai]
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. (Second Edition). New York: W.P. Laughiln Foundation. Nosu, K., & Wisalaporn, S. (2014). Factors and indicators of teachers’ spirit of the primary education area office in the Upper-Northern Provinces. Kasalongkham Researrch Journal Chiangrai Rajabhat University, 8(1), 53-65. [in Thai]
Office of Promoting Learning Organization and Youth Quality. (2014). Upgrading Thai
Teachers in 21st Century. Bangkok: Sahamitra Printing & Publishing Limited. [in Thai]
Payutto, Bhikkhu, P.A. (2005). Dictionary of Buddhism. Bangkok: A.T. Printing. [in Thai]
Sungraksa, N. (2011). Synthesis study of mental and spiritual development holistic of knowledge from storytelling about success among teachers and students all teachers and students are in ed. systems development of youth through wisdom consciousness. Silpakorn Educational Research Journal, 2(2), 21-34. [in Thai]
Yolao, et al., (2010). Giving Definitions and Index, Evaluation and Instruments of Spirituality of Educational Personnel. Sodsri-Saridwongso Foundation. [in Thai]