การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ปาริชาติ ธีระวิทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ใช้ในการบริหารและจัดการการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และ (3) นำเสนอแนวทางสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคใต้ จำนวน 22 แห่ง กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ในการสนทนากลุ่ม คัดเลือกนักศึกษาแบบเจาะจงจากนักศึกษาจาก 5 สถาบันที่จับฉลากได้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า และ แบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีการของ LSD        


ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมทางคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X} =4.01, S.D. = .146) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความซื่อสัตย์สูงที่สุด (\inline \bar{X} =4.33, S.D.=.314) รองลงมา คือ ความ
มีวินัย (\inline \bar{X} =4.21, S.D.=.281) ความอดทนอดกลั้น (\inline \bar{X} =4.13, S.D.=.290) และความประหยัดเป็นคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษามีน้อยที่สุด (\inline \bar{X} =3.73, S.D.=.301) การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X} =4.07, S.D.=.195) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวิจัยสูงที่สุด (\inline \bar{X} =4.42, S.D.=.305) รองลงมา คือ ด้านกิจการพัฒนานักศึกษา (\inline \bar{X} =4.24, S.D.=.279) การบริการวิชาการแก่สังคม (\inline \bar{X} =4.11, S.D.=.281) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย (\inline \bar{X} =3.91, S.D.=.382) และความประหยัด (\inline \bar{X} =3.65, S.D.=.361) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีเพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา อาชีพของผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครองและจำนวนครั้งที่นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมต่างกัน มีประสิทธิผลจากการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน แนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยสรุปแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง ได้แก่ (1) วิถีทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และ (2) วิธีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

Article Details

How to Cite
ธีระวิทย์ ป. (2018). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 31–39. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/84814
บท
บทความวิจัย

References

Channoi, P., Chomphukham, W., Puenphasuk, P., & Nonthapa, R. (2016). Ways of establishing activities for improving merit and of students at Private Universities in Chiang Mai. FEU Academic Review, 10(4), 261-273. [in Thai]

Chulanont, S. (2007). Special Speech on the Topic of “Strengthening Morality, Ethics and Good Governance in Thai Society: 52th Anniversary Seminar of Faculty of Public Administration. Bangkok: National Institute of Development Administration. [in Thai]

Khamta, J., & Warintornnuwat, S. (2016). A study of virtue and morality of students, faculty of Business Administration at Thai-Nichi Institute of Technology. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1962-1978. [in Thai]

Onphaeng, S., Sungkawadee, P., Jansila, V., & Mejang, S. (2013). A management model for developing primary student’s morality and ethics in schools under the primary educational service areas. Journal of Education Naresuan University, 15 (Special Issue), 258-265. [in Thai]

Osathanugrah, N. (2006). A Framework for Developing Moral Principles and Ethics among the Thai Higher Education Students Following Discourse by His Majesty the King Bhumipol. Bangkok: Thailand National Defence College. [in Thai]

Panich, V. (2012). The Way to Create Lessons for 21st Century Disciplines. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. [in Thai]