แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรณรงค์น้ำประปาดื่มได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กฤตย์ เลาหพิบูลรัตนา
ศรีสุดา จงสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรณรงค์น้ำประปาดื่มได้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ใช้น้ำประปาของการประปานครหลวงในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL


ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรณรงค์น้ำประปาดื่มได้ ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรณรงค์น้ำประปาดื่มได้ จำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ การรณรงค์ของหน่วยงาน การรับรู้ของผู้ใช้น้ำ และ การดื่มน้ำประปา และ (2) แบบจำลองมีความสอดคล้องและกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square=65.62, df=29, P=.00012, RMSEA=.056, gif.latex?X^{2}/df=2.26, GFI=.97, AGFI=.93, CFI=.99 ซึ่งปัจจัยแต่ละตัวส่งผลต่อการรณรงค์น้ำประปาดื่มได้ เรียงลำดับปัจจัยที่ส่งผลจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านการรณรงค์ของหน่วยงาน ได้แก่ กลยุทธ์การรณรงค์ ข้อมูลในการรณรงค์ วัตถุประสงค์ในการรณรงค์ และช่องทางการรณรงค์ 2) ปัจจัยด้านการรับรู้ของผู้ใช้น้ำ ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม ลักษณะทางกายภาพของน้ำประปา และด้านความรู้ ประสบการณ์ของบุคคล และ 3) ปัจจัยด้านการดื่มน้ำประปา ได้แก่ มาตรฐานการควบคุมคุณภาพน้ำประปา กระบวนการผลิตน้ำประปา การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด และคุณภาพน้ำประปาผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลก

Article Details

How to Cite
เลาหพิบูลรัตนา ก., & จงสิทธิผล ศ. (2018). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรณรงค์น้ำประปาดื่มได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 87–94. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/86085
บท
บทความวิจัย

References

Angsuchoti, S. (2011). Statistics for Social Science and Behavior Research: Technical Support for Users of LISREL. (4th ed.). Bangkok: Charoendee Munkong Press. [in Thai]
Borin, N., Cerf, D.C., & Krishan, R. (2011). Consumer effects of environment impact in product labeling. Journal of Consumer Marketing, 28(1), 76-86.
DePoy, E., & Gilson, S.F. (2012). Human Behavior Theory and Applications: A Critical Thinking Approach. London: SAGE.
Fill, C. (2002). Marketing Communications: Contexts, Strategies, and Applications. New York, NY: Financial Time Prentice Hall.
Glass, G. V., & Hopkins, K. D. (1995). Statistical Methods in Education and Psychology. Upper Saddle River: N.J: Pearson Prentice Hall.
Harrell, G. D. (1999). Marketing: Connecting with Customers. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.
Jeeravorawong, C. (2015). Attitudes subjective norms and the involvement product affecting the intentions to buy the green products. Songklanakarin Journal of Management Sciences, 32(1), 65-90. [in Thai]
Kotler, P. (2009). Marketing Management. Upper Saddle River: N.J: Pearson Prentice Hall.
Likert, R. (1974). A Technique for the Measurement of Attitude. In G.F. Summer (ed.). Attitude measurement. New York: Rand Mcnally.
Metropolitan Waterworks Authority. (2013). Water Safety Plan Project Metropolitan Waterworks Authority. [in Thai]
Rawal, P. (2013). AIDA Marketing Communication Model: Stimulating a purchase decision in the minds of the consumers through a linear progression of steps. IRC’S International Journal of Multidisciplinary Research Social & Management Sciences, 1(1), 37-44.
Sattayopat, P. (2015). The Casual Effect Among Entrepreneurial, Marketing Capabilities, Innovation and Business Strategy toward Competitive Advantage of Small and Medium Enterprises in Lanna of Thailand. Ph.D. Dissertation (Management), Lampang Rajabhat University. [in Thai]
Schiffman, L., & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior. (10th ed.). London: Prentice Hall.
Suksawang, P. (2014). The basics of structural equation modeling. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 136-145. [in Thai]
Sven, W. (1992). Using Communication Theory: An Introduction to Planned Communication. London: SAGE.
Tosa-nguan, S. (2008). Perception and usage of e-procurement in public sector to official in the Office of the Permanent Secretary Ministry of Natural Resources and Environment. M.A. (Communication Arts) Thesis, Dhurakijpundit University. [in Thai]
Wongmontha, S. (1997). Integrated Marketing Communication. Bangkok: Diamond in Business World Press. [in Thai]
Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: John Wetherhill.