การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ อําเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วรัทยา เหย้าสุวรรณ
ศรีอร สมบูรณ์ทรัพย์
ฆนัทนันท์ ทวีวัฒน์

Abstract

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ อําเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นไปได้ด้านตลาด (2) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค และ (3) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ เชิงลึกและข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสารวิชาการ งานวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่ได้ นํามาใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เครื่องมือด้านการเงินที่ใช้ คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทน ภายในโครงการ (IRR) อัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าแล้ว (MIRR) ดัชนีความสามารถในการทํากําไร (PI) และการ ทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน (SVT)   ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2558 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีผลผลิตปาล์มน้ำมัน 1,012,829 ตันต่อปี มีโรงงานสกัด น้ำมันปาล์มดิบ 6 แห่ง ใช้วัตถุดิบปาล์มน้ำมัน 693,000 ตันต่อปี เกิดวัตถุดิบส่วนที่เหลือ 319,829 ตันต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงเห็น โอกาสในการลงทุน โครงการลงทุนในรูปแบบสหกรณ์การเกษตร นําวัตถุดิบที่ได้จากเกษตรกรไปสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ ผลผลิตที่ได้ส่งต่อไปยังชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จํากัด โดยพื้นที่โครงการ 10 ไร่ ใช้เทคโนโลยีในการสกัด แบบไม่ใช้ไอน้ำ ผลจากการวิเคราะห์ทางการเงิน พบว่า ที่อายุโครงการ 20 ปี และต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็น อัตราคิดลดที่ร้อยละ 10.58 มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 106,598,010 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการเท่ากับร้อยละ 22.20 อัตราผลตอบแทนภายในโครงการที่มีการปรับค่าแล้วเท่ากับร้อยละ 14.63 ดัชนีความสามารถในการทํากําไรเท่ากับ 2.01 และเมื่อทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน พบว่า ผลตอบแทนลดลงได้ร้อยละ 31.12 และต้นทุนในการลงทุนเพิ่มขึ้นได้ร้อย ละ 101.13 โดยที่โครงการยังมีความคุ้มค่าในการลงทุน สรุปได้ว่าโครงการนี้มีความเสี่ยงต่ํามาก 

 

A Feasibility Study of Investment on Crude Palm Oil Extraction Plant in Thung Yai District, Nakhon Si Thammarat Province 

          This study aimed to (1) explore marketing of palm oil, (2) study technical aspects and (3) perform financial feasibility. The study used the primary data obtained from participatory observation and in-depth interviews and secondary data obtained from academic papers of various sources including the internet. Both types of data were used in descriptive and quantitative analyses. The analytical tools were net present value (NPV), internal rate of return (IRR), modified internal rate of return (MIRR), profitability index (PI), and switching value test (SVT). The result showed that in 2015 Nakhon Si Thammarat Province produced 1,012,829 tons of palm oil per year and consumed only 693,000 tons of palm oil per year. The amount of oversupply was 319,829 tons of palm oil per year. The new plant required area of 10 rai and utilized production technology of non-stream process which was short and environmental friendly to extract raw palm oil. The financial result with project life of 20 years and WACC as discounted rate of 10.58 percent showed that the project was worth the investment since NPV was 106,598,010 baht, IRR was 22.20 percent, MIRR was 14.63 percent and PI was 2.01.  The SVT showed that the benefit could be down 31.12 percent and the investment cost could be up 101.13 percent, hence the project risk was very low. 

Article Details

How to Cite
เหย้าสุวรรณ ว., สมบูรณ์ทรัพย์ ศ., & ทวีวัฒน์ ฆ. (2017). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ อําเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 35–43. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87205
Section
Research Manuscript