ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ประเทศไทย ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ
Main Article Content
Abstract
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ประเทศไทย ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ข้อมูลทุติยภูมิ ของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในการประมาณแบบจําลอง ซึ่งจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2540 ถึง ไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ. 2556 จํานวน 63 ไตรมาส และวิเคราะห์ผลวิจัยด้วยสมการถดถอยเชิงซ้อน (OLS) ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ได้รับ อิทธิพลเชิงบวกจากปริมาณเงินตามความหมายแคบเปรียบเทียบระหว่างประเทศ บัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกา อัตรา ดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินเปรียบเทียบระหว่างประเทศ และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์เปรียบเทียบระหว่างประเทศ ขณะที่ได้รับ อิทธิพลเชิงลบจากรายได้ที่แท้จริงเปรียบเทียบระหว่างประเทศและบัญชีเดินสะพัดของไทย ตามลําดับของขนาดของอิทธิพล โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจําลองสามารถอธิบายอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ได้ประมาณร้อยละ 83.7 ( = 0.837, P<.01) ดังนั้นในการ รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ผู้มีอํานาจในการดําเนินนโยบายจึงต้องคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางเศรษฐกิจของ ไทยและสหรัฐอเมริกาไปพร้อมกัน
Factors Influencing Exchange Rate of Baht against U.S. Dollar under the Managed Float Exchange Rate Regime in Thailand
This research aimed to investigate the factors that influencing exchange rate of Baht against U.S. dollar under the managed float exchange rate regime in Thailand. We used quarterly data from economic database of Thailand and U.S. for period 1997: Q4 -2013: Q2 (63 quarters) to be the sample in this research, based on a multiple regression technique (OLS). As a whole, the fluctuation in spot exchange rate of Baht against U.S. dollar was positively influenced by money supply differential, U.S.'s current account, nominal interest rates and expected inflation rate differential, in rank order. On the other hand, exchange rate of Baht against U.S. dollar was negatively influenced by real income differential and Thailand's current account, in rank order. All these factors accounted for 84 percent of the variance explained by exchange rate of baht against U.S. dollar under the managed float system in Thailand (R2= 0.84, P<.01). Therefore, the policymaker should perceive about the effect of economic factors of Thai and U.S. to stabilize exchange rate of Baht at the same time.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.