การสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง

Main Article Content

ลําเจียก กําธร
จิณัฐตา ศุภศรี

Abstract

การสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง 

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง และ (2) ศึกษาระดับการใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพจิต ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง โดยรวบรวมข้อมูลจาก ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง จํานวน 437 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุ จํานวน 27 ชุมชน โดยสุ่มตัวอย่างอย่าง ง่ายแบบจับฉลาก 10 ชุมชน และนํามาคํานวณหากลุ่มตัวอย่างในแต่ละชุมชน ตามสัดส่วนจํานวนประชากรของผู้สูงอายุใน แต่ละชุมชนทั้ง 10 ชุมชน เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบวัดสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิต และแบบสอบถามการใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่สร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยง โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบวัดสุขภาพจิต และแบบสอบถามการใช้ภูมิ ปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพจิต ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 และ .99 ตามลําดับ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตปกติ ร้อยละ และ 39.8 และ (2) ผู้สูงอายุมีการใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยรวมในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.47 (\inline \bar{X} =7.77, S.D.=3.12) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพจิตในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ การควบคุมอารมณ์ของตนเอง มากที่สุด ร้อยละ 40.56 (\inline \bar{X} =5.73, S.D.=1.83) การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและสังคม ร้อยละ 37.83 (\inline \bar{X} =5.05, S.D.=2.22) และการทํางานอดิเรกที่ชอบตามลักษณะท้องถิ่น ร้อยละ 32.0 (\inline \bar{X} =1.72, S.D. =1.03) ทั้งนี้พบว่าไม่มีการนํา ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพจิตใน 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติตามความเชื่อ ร้อยละ 47.48 (\inline \bar{X} =16.67, S.D.=6.15) และการดูแลสุขภาพและรักษาอาการเจ็บป่วย ร้อยละ 48.52 (\inline \bar{X} =5.13, S.D.=3.81) 

 

Mental Health Promotion Using Local Wisdom of the Elderly in Trang City Municipality, Trang Province 

         The purposes of this research were to study (1) mental health of the elderly in Trang City Municipality and (2) the level of mental health promotion using local wisdom of the elderly in Trang City Municipality, Trang Province; 437 subjects were selected using multi-stage random. Sampling instruments used in the research including; part 1 Mental Health Measure developed by Mental Health Institute and Part 2 Utilization of local wisdom of mental health promotion questionnaires. The validity of the content from 3 experts and determined the reliability using Cronbach’s alpha coefficient was .82 and .99, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics. The research results showed that: (1) the elderly in Trang Municipality had a good mental health 39.8 %, and (2) it was found that subjects used local wisdom for mental health promotion at moderate level 44.47 % (\inline \bar{X} =7.77, S.D.=3.12). For each component, it was found that subjects used local wisdom at a moderate level in 3 groups: (1) self-controlling emotion and feeling 40.56 % (\inline \bar{X} =5.73, S.D.=1.83), (2) building relationship within family and society 37.83 % (\inline \bar{X} =5.05, SD.=2.22) and (3) doing hobbies specific to their local content 32.0 % (\inline \bar{X} =1.72, S.D.=1.03). They do not used local wisdom in 2 groups: (1) practicing based on their belief 47.48 % (\inline \bar{X} =16.67, S.D.=6.15) and (2) caring for health and treating their illness 48.52 % (\inline \bar{X} =5.13, S.D. =3.81)

Article Details

How to Cite
กําธร ล., & ศุภศรี จ. (2017). การสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 55–62. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87216
Section
Research Manuscript