ความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
Abstract
ความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเด็นนักการเมือง กระบวนการทางการเมือง และการเมืองการปกครอง (2) เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในประเด็น นักการเมือง กระบวนการทางการเมือง และการเมืองการปกครอง จําแนกตามอายุ อาชีพ และระดับการศึกษา เป็นการวิจัย เชิงสํารวจ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าเอฟ และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชายแดน ภาคใต้โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มี ต่อการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยทั้ง 3 ตัวแปร จําแนกตามอายุ อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน จังหวัดชายแดนใต้ที่มีอาชีพต่างกันมีความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกัน (P<.05) ขณะที่ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกันมีความคาดหวังทางการเมืองไม่แตกต่างกัน
Political Expectation for Democracy of Voters in Southern Border Provinces
The purposes of this study were to explore the followings; (1) Level of political expectation for the democracy of voters in the southern border provinces in aspects of politician, political process, politics and government and. (2) Comparing the expectation of the electorate for the political for the democracy in aspects of the politician, political process, politics and government that classified by age, occupation, and educational level. This study was carried out a survey research and questionnaires that distributed to 400 voters in the four southern border provinces such as Yala, Narathiwat, Pattani, and Songkhla. The statistics of data analysis were expressed in percentage, mean, standard deviation, F-test and Scheffe’ method. The research results found that the level of political expectation for the democracy of voters in the southern border provinces was at a moderate level. When comparing the expectation of voters in the spheres of the three variables, which were classified by age, occupation, and educational level found that the electorate with different professions had different expectations (P<.05). As, the voters with different age and educational attainment had no different expectation.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.