การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนเสริมสร้างสันติสุข ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน

Main Article Content

รุจน์จาลักษณ์รายา คณานรุักษ์

Abstract

การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนเสริมสร้างสันติสุข ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการบริหารชุมชนเสริมสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ดําเนินการโดย กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) และ ศูนย์อํานวยการบริหารราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ (2) พัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนเสริมสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  ที่ดําเนินการโดย กอ.รมน.ภาค 4 สน. และ ศอ.บต. ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสําคัญกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การนํานโยบายไปปฏิบัติ เป็นการศึกษาเฉพาะพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง พื้นที่เร่งรัดการพัฒนา และพื้นที่เสริมสร้างการพัฒนา และพื้นที่ 3 ลักษณะวัฒนธรรม คือ ชุมชนไทยพุทธ ชุมชนไทยมุสลิม และ ชุมชนไทยผสม ระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารชุมชนเสริมสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืนนั้น เป็น โครงการที่การแก้ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนา ตาม แนวทางการเมืองนําการทหาร และได้น้อมนํายุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นยุทธศาสตร์หลักในการแก้ปัญหา รูปแบบที่ใช้ ในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรให้ความสําคัญกับการ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อาทิ ด้านการเมือง อิทธิพล และผลประโยชน์ ด้านงบประมาณ ให้เกิดความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้านบุคลากร ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดจนถึงวิธีคิดในการทํางาน เห็นคุณค่าของของประชาชนในพื้นที่ ให้เกียรติ และการ ยอมรับ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน เสริมสร้างสันติสุขอย่างสร้างสรรค์ กอ.รมน.ภาค 4 สน. และ ศอ.บต. ควรมีการบูรณาการงานแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบ และลงไปดําเนินการโครงการพัฒนาในหมู่บ้านอย่างจริงจังและ ต่อเนื่อง จะทําให้เกิดความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน 

 

Development a Mode of Sustainable Community’s Peace Building Management in the Three Southernmost Provinces

          This study was aimed at (1) examining peace support community model in the three Deep South provinces as carried out by the Internal Security Operation Command (ISOC) of the Fourth Army Region and the Southern Border Provinces Administrative Center (SBPAC) and (2) developing the peace support community model in the three Deep South provinces as directed by ISOC of the Fourth Army Region and SBPAC. The study was specified to only the three southernmost provinces comprising Yala, Pattani, and Narathiwat, the areas in which the programs of security support, development acceleration, and development support were carried out and the areas which were composed of 3 cultural characteristics, that is, Thai Buddhist community, Thai Muslim community, and Thai mixed community-Thai Buddhist and Thai Muslim. It was found that the management model for peace support in the three Deep South provinces was organized by ISOC of the Fourth Army Region and, for development provisions, by SBPAC. They were the projects to resolve the unrest problems in the three Deep South provinces according to the strategic schemes of security and development following the model of politics-led military together with the schemes initiated by the King, the “Understand-Access-Develop” approach and the Sufficiency Economy Philosophy; these two key strategies.

Article Details

How to Cite
คณานรุักษ์ ร. (2017). การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนเสริมสร้างสันติสุข ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 111–120. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87262
Section
Research Manuscript