การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองใน สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รวิธิดา เนื้อทอง
ชัยณรงค์ สุวรรณสาร
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์

Abstract

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองใน สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสถานศึกษา เอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร และ (2) ตรวจสอบและประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้อํานวยการ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร จํานวน 282 คน โดยรวบรวมจาก ประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามซึ่งส่งกลับมามีจํานวน 253 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.72 แบบบันทึกการ สนทนากลุ่มและแบบบันทึกการยืนยันโดยการอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสถานศึกษาเอกชนประเภท สามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (1.1) ปัจจัยนําเข้า ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การจัดการด้าน นโยบาย การจัดการด้านเป้าหมาย และการจัดการด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (1.2) ปัจจัยด้านกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสํานึก กระบวนการเรียนรู้แบบการทํา โครงงาน การจัดเป็นกิจกรรมในหลักสูตร การมีส่วนร่วมในชุมชน และ (1.3) ปัจจัยด้านผลผลิต คือ ผู้เรียนมีคุณลักษณะของ ความเป็นพลเมือง ได้แก่ การมีอิสรภาพและพึ่งพาตนเองได้ เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพหลักความเสมอ ภาค เคารพกติกา/เคารพกฎหมาย และการรับผิดชอบต่อสังคม และ (2) ผลการตรวจสอบและประเมินรูปแบบการบริหาร จัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีระดับ ความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (µ=3.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ ด้านปัจจัยนําเข้า (µ=3.76) รองลงมาได้แก่ ด้านผลผลิต (µ=3.64) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกระบวนการ (µ=3.61)

 

Development a Model of Civic Educational Management in Private General Education Schools in Bangkok 

          The objectives of this research were (1) to develop a model of civic educational management in private general education schools in Bangkok and (2) to validate and assess of a model of civic educational management in private general education schools in Bangkok. The population for this study was 282 directors of private lower secondary schools in Bangkok. Gathering from all population, the questionnaires were returned 253, which is 89.72% of the total. The questionnaire was used to gather the data and the percentage, mean and standard deviation were used to analyze the data. The connoisseurship was used to validate the model. The research results showed that (1) a model of civic educational management in private general education schools in Bangkok consisted of (1.1) Input which were included of personnel, budget, materials, policy, target, purpose, and Participatory Management. (1.2) Process which included of participatory learning, the creating awareness, the project-based learning, the participation from the community, and (1.3) Output which included the participants citizenship; the independence and self-reliance, respect to differences, respect to the principles of equality, respect to the rules / laws and corporate to social responsibility, and (2) The validation and assessment of a model of civic educational management in private general education schools in Bangkok, as overall, all factors were highly suitable level (µ= 3.67), and as considering by items the result showed that the input aspect was the most highly appropriate (µ=3.76) the output aspect was less appropriate (µ=3.64), while the least suitable aspect was process (µ=3.61).

Article Details

How to Cite
เนื้อทอง ร., สุวรรณสาร ช., & ภัทราวิวัฒน์ ก. (2017). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองใน สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 137–142. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87269
Section
Research Manuscript