การพัฒนาและการตรวจสอบคุณสมบัติทางการวัดของมาตรวัดความเจริญงอกงาม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
พัชรา สิริวัฒนเกตุ
วิระญา กิจรัตน์
มาณวิกา ศรีวรรณา
สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์
ชัยยา น้อยนารถ

บทคัดย่อ

ความเจริญงอกงาม เป็นความสุขระดับสูงที่ครอบคลุมมุมมองความสุขทั้งในระดับตื้นที่เน้นความพึงพอใจ และระดับลึกซึ้งที่เน้นความหมายของชีวิตและจิตวิญญาณ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางการวัดของมาตรวัดความเจริญงอกงาม สำหรับนิสิตปริญญาตรี ทั้งในด้านคุณภาพรายข้อ ความตรงและความเที่ยงทั้งฉบับ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยบูรพา ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 450 คน


ผลการวิจัยปรากฏว่า มาตรวัดความเจริญงอกงาม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งสิ้น 45 ข้อ ซึ่งจำแนกเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเจริญงอกงามทางปัญญา (15 ข้อ)
2) ด้านความเจริญงอกงามทางจิตใจ (15 ข้อ) และ 3) ด้านความเจริญงอกงามทางสังคม (15 ข้อ) ข้อคำถามทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหาที่ดี (ทุกข้อมีค่า CVI เท่ากับ 1.00 ) มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .21 ถึง .70 ค่าความเที่ยงแบบสอบถามสอดคล้องภายในตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ .93 และการตรวจสอบความตรงตามสภาพ ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างผลการทดสอบที่ได้จากมาตรวัดความเจริญงอกงามกับแบบประเมินความสุขคนไทย ปรากฏว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ .65 (P<.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มาตรวัดความเจริญงอกงามสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมีคุณภาพทั้งด้านความเที่ยง ความตรง และคุณภาพรายข้อที่ดี เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือประเมินความเจริญงอกงามหรือความสุข สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
ประดุจพรม ป., สิริวัฒนเกตุ พ., กิจรัตน์ ว., ศรีวรรณา ม., สกลกิจรุ่งโรจน์ ส., & น้อยนารถ ช. (2018). การพัฒนาและการตรวจสอบคุณสมบัติทางการวัดของมาตรวัดความเจริญงอกงาม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 21–29. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87819
บท
บทความวิจัย

References

Huppert, F. A., & So, T. T. C. (2013). Flourishing across Europe: Application of a new conceptual framework for defining well-being. Social Indicators Research, 110(3), 837–861.

Huta, V., & Hawley, L. (2010). Psychological strengths and cognitive vulnerabilities: are the two ends of the same continuum or do they have independent relationships with well-being and ill-being?. Journal of Happiness Studies, 11, 71–93.

Keyes, C. L. M. (2002). The Mental Health Continuum: From languishing to flourishing in life. Journal of Health and Social Research, 43, 207–222.

Kittisuksathit, S., et al. (2012). HAPPINOMETER: The Happiness Self-Assessment (1st ed.). Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. [in Thai]

Lyubomirsky, S., King, L., & Diener, E. (2005). The benefits of frequent positive affect: does happiness lead to success?. Psychological Bulletin, 131(6), 803-855.

Nuallaong, W. (2012). Quality of life predicting factors among the first year medical students. J. Psychiatr. Assoc. Thailand, 57(2), 225-234. [in Thai]

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity index: are you sure you know what's being reported? critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29(5), 489-497.

Ryff, C. D., & Singer, B. (1998). The contours of positive human health. Psychological Inquiry, 9, 1-28.

Seligman, M. E. P. (2011). Flourish: A New Understanding of Happiness and Well-Being-and How to Achieve them. London: Nicholas Brealey.

Tantipiwatanasakul, P., & Seetalapinan, A. (2011). Handbook for Promoting Provincial Happiness (2nd ed.). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd. [in Thai]

Tengtrisorn, C., Kunavaro, K., & Vajiraporntip, A. (2008). Development of Buddhist health measuring instrument. Journal of Health Science, 17(6), 1650-1660. [in Thai]

Watson, D., Clark, L. A., & Tellegen, A. (1988). Development and validation of brief measures of positive and negative affect: The PANAS Scales. Journal of Personality and Social Psychology, 47, 1063–1070.