รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพ การจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปสู่ระดับ A: ในมุมมองของสมาชิก

Main Article Content

กิตติศักดิ์ แสงทอง
พุธวิมล คชรัตน์
อรณุชา อยู่สกุล
ทรายทอง เสมอภาค
วิภาดา อัครชญานิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปสู่ระดับ A ในมุมมองของสมาชิก
(2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชไปสู่ระดับ A และ (3) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไปสู่ระดับ A กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 400 คน จากสมาชิกที่กู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับ A ในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ทดสอบความสอดคล้องของข้อคำถาม ด้วย Item-Total Correlation มีค่าตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์สถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้วยโปรแกรม LISREL 8.80 for Student
           ผลการวิจัย พบว่า (1) การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไปสู่ระดับ A ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้จำนวน 7 ตัวแปร (2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไปสู่ระดับ A มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าสถิติดังนี้ (c2/df) = 0.61, P-Value = 0.604, RMSEA = 0.000, GFI = 1.000, AGFI = 0.99, CFI = 1.000 และ (3) ผลการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไปสู่ระดับ A พบว่า ปัจจัยด้านกฎ ระเบียบกองทุนมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยความสามารถในการชำระหนี้ (P = 0.42) และต่อปัจจัยการพัฒนาอาชีพมากที่สุด (P = 0.38) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.44 ส่วนปัจจัยด้านกระบวนการจัดการมีอิทธิพลต่อปัจจัยการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งมากที่สุดคือ (P = 0.26) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.63
            ผลการวิจัยนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับ B, C และ D สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนไปสู่ระดับ A

Article Details

How to Cite
แสงทอง ก., คชรัตน์ พ., อยู่สกุล อ., เสมอภาค ท., & อัครชญานิน ว. (2019). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับประสิทธิภาพ การจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปสู่ระดับ A: ในมุมมองของสมาชิก. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(1), 84–91. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/89657
บท
บทความวิจัย

References

Carmines, E. G., & Zeller, R. A. (1990). Reliability and Validity Assessment (4 thed.). Newbury Park, California: Sage

Publications.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (3rded.). New York: Harper and Row.

Klaijanpong, H., Plangchareansri, K., Pungniran, B. (2015). Management model of effectiveness village fund region 7

(branch 12). Journal of Thai Interdisciplinary Research, 10(1), 102-113. [in Thai]

National Village and Urban Community Funds Office. (2016). Report of the allocation and transfer of the funds,

according to fund capital improvement village and urban community funds. Retrieved on 20 October 2016, from

https://www.villagefund.or.th/index.aspx?parent=433&pageid=469&directory=2366&pagename=content.

[in Thai]

Nilvichien, H. (1997). Development of Self Discipline, Practice and Principle. Pattani: Prince of Songkla University,

Pattani Campus. [in Thai]

Pomnoi, N. (2014). People and Village and Urban Fund Management. Thesis of Faculty of Public Administration,

Phitsanulok University. [in Thai]

Sengpracha, N. (1998). Human and Social (4 thed.). Bangkok: Odeon Store. [in Thai]

Wongsanti, N. (2016). The Direction and Development of the Country, the Government's Policy and National

Economics and Social Development Plan. 12. Bangkok: Office of the National Economics and Social Development. [in Thai]

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.