ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัด
สุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 226 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.38 นอกจากนี้ยังพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา การพักอาศัย อาชีพ แหล่งที่มาของรายได้ รายได้ ความเพียงพอของรายได้ โรคประจำตัว และสภาพปากและฟัน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ
(2) ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 70.27 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในระดับต่ำมาก (r=0.130) ด้านทัศนคติต่อการบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 72.07 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.206, P<.01) (3) ปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.56 และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในระดับต่ำมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.155, P<.05) และ (4) ปัจจัยเสริมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.52 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.258, P<.01) จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนต่อไป
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rded.) New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B.S., Hastings, J.H., & Madaus, G.F. (1971). Handbook on Formative Evolution of Student Learning. New York: McGraw Hill.
Chaingkuntod, S., Mattavangkul, C., Chancharoen, K., Hongkrailearth, N., Romnukul, N., Udomsri, T., & Ngoamoon, S. (2013). Knowledge, Attitude, Consumers’ Behaviors and the Media Influence on Consumers’ Behaviors of Phasicharoen Persons (Research Report). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. [in Thai]
Chanchum, N. (2014). Factors Influencing Nutritional Status of Elderly in Bangkhunthian District, Bangkok Metropolitan. M.A. Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Green, L.W., & Kreuter, M.W. (1991). Health Promotion Planning. An Educational and Environmental Approach. (2nded.) Palo Alto: Mayfield.
. (2005). Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. (4thed.). New York: McGraw Hill Higher Education.
Information and Communication Technology Center. (2014). Ageing Population in Thailand: Present and Future. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai]
Jenjob, J., & Chomson, S. (2016). Factors Related to Blood Pressure Control Behaviors of Patients with Essential Hypertension of Ban Keskasorn Sub-District Health Promotion Hospital Lankrabue District, Kamphaeng Phet. Province. In Proceedings of the 12th National Conference (pp.721-734). Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]
Jitsopakul, N. (2013). Factors related to health promotion behaviors among elderly in Mu 6 Buengsan, Ongkharak District, Nakhon.Nayok.Province. Pathumthani University Academic Journal, 6(3), 171-178. [in Thai]
Konkaew, W. (2014). The Health Behavior of Elderly of Klongtumru Sub-District, Mueang District, Chon Buri Province. M.P.A. Thesis, Chon Buri: Burapha University. [in Thai]
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mekwimon, W. (2012). Factors Related to Food Consumption Behavior among Elderly Samut Songkham Province (Research Report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai]
Namarak, R. (2015). Family Factors Influencing Exercise and Eating Behavior Among Elderly with Overweight in Mueang District, Nakhon Prathom Province. M.N.S. Thesis, Chon Buri: Burapha University. [in Thai]
Thai Health Promotion Foundation. (2014). Thai Elderly. Retrieved August 1, 2016, from https://www.thaihealth. or.th/Content/26712. [in Thai]
Wangcharoen, M., Thaiphanich, W., Polsiri, A., & Thongtamluing, J..(2016)..Factors influencing.the.food.consumption behaviors of the elderly: a case study of the elderly club at Sirindhorn Hospital, Bangkok Metropolis. Journal of Home Economics, 59(3), 61-72. [in Thai]