การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • Rawisara Buranasen Master's degree students Educational, Educational Research and Evaluation, Faculty of Education, Rajabhat Maha Sarakham University

คำสำคัญ:

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างและหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับแบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยใน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 และ 1/4 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ห้องละ 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 24 ข้อและ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุด คือ เนื้อหาเรื่องเลขยกกำลัง และแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องเลขยกกำลัง คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2. ผลการสร้างและพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือได้แผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน จำนวน 16 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.53/80.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับแบบปกติ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.20 ) 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)