กองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิตกับการให้สวัสดิการชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านบะแค ที่ได้รับรางวัลซีโร่เวส (Zero Waste) อันดับที่ 1 ในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Prasiyachut Boonjuang Master of Public Administration, Department of Local Administration College of Local Administration, Khon Kaen University.

คำสำคัญ:

กองทุนธนาคารขยะ, รางวัลซีโร่เวส, สวัสดิการชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อถอดบทเรียนสภาพการบริหารจัดการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต ของหมู่บ้านบะแค ที่ได้รับรางวัลซีโร่เวส (Zero Waste) อันดับ 1 ในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น และ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิตกับการให้สวัสดิการชุมชนในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งเป็นการศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation)  และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ซึ่งผู้ที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กรรมการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต และสมาชิกกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน กรรมการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต 4 คน และสมาชิกกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต 10 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สรุปองค์ความรู้ที่ได้ และถอดบทเรียนจากการสังเกตผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี มีอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา) เป็นหลัก ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีรายได้ 5,001 – 10,000 บาท ต่อเดือน ส่วนประเด็นการศึกษาการบริหารจัดการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิตของหมู่บ้านบะแค ที่ได้รับรางวัลซีโร่เวส (Zero Waste) อันดับ 1 ในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น พบว่าประการแรก คือ การสนับสนุนจากเทศบาลตำบลแวงใหญ่เกี่ยวกับการเป็นชุมชนปลอดขยะ พบว่า  เทศบาลได้มีการจัดอบรมเรื่องการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี ให้ความรู้เรื่องทำปุ๋ยหมักเพื่อการเกษตร โดยคัดแยกขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีการสนับสนุนถังพลาสติกให้ชาวบ้านในชุมชนได้นำเศษอาหารต่าง ๆ ทิ้งลงถังพลาสติก เพื่อนำไปทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพใช้ในการเกษตรในครัวเรือน และชุมชนสนับสนุนปิ่นโต “อุ้มบุญ” เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนหันมาใช้ปิ่นโตแทนการใช้ถุงพลาสติก มีการจัดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคีย์ข้อมูลของผู้ที่มาขายขยะ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนการพาไปศึกษาดูงานกองทุนธนาคารขยะที่ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของประเทศประการที่สอง การมีส่วนร่วมของชุมชนและการมีจิตอาสาในการจัดการขยะในชุมชนตนเอง พบว่า ในชุมชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนนำออกมาขายให้กับกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบข้อบังคับ มีกรรมการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และจิตอาสาประจำหมู่บ้านช่วยกันคัดแยกขยะ เพื่อง่ายต่อการไปจำหน่ายให้กับร้านรับซื้อ ประการที่สาม การนำหลัก 3R (1. Reduce - ลดการใช้ หรือคิดก่อนใช้ 2. Reuse - นำกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้แล้วใช้อีก 3.Recycle - นำกลับมาใช้ใหม่) มาบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน พบว่า มีการลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยการใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าแทนเวลาไปจ่ายตลาดหรือซื้อของ ถุงพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้ใหม่ และมีการนำถุงพลาสติกที่เปื้อนนำมาทำความสะอาดตากแห้ง เพื่อนำไปขายให้กับโรงงานสกัดน้ำมัน อีกทั้งยังมีการนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมาทำประโยชน์ต่อการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เช่น ซองกาแฟจะนำมาถักเป็นกระเป๋า ซองน้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือซองผงซักฟอกที่ใช้หมดแล้วนำมาเย็บทำเป็นผ้าปูโต๊ะ เป็นต้นประการที่สี่ สวัสดิการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต พบว่า มีเงินฌาปนกิจกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิต เป็นสวัสดิการหนึ่งของกองทุนธนาคารขยะของหมู่บ้านบะแค โดยเงินสงเคราะห์ได้มาจากสมาชิกกองทุนธนาคารขยะ นำขยะมาขายกับกับกรรมการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และจิตอาสา เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นรายรับประจำเดือนของแต่ละเดือน และมีการจับฉลากของขวัญสำหรับสมาชิกกองทุนธนาคารขยะทุกสิ้นปี ปีละ 1 ครั้ง ก่อนสิ้นสุดปีปฏิทิน และด้านปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการกองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิตกับการให้สวัสดิการชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ขยะในครัวเรือนเริ่มลดน้อยลง ทำให้มีขยะรีไซเคิลที่นำมาขายน้อยลง และการเปลี่ยนผู้นำชุมชนใหม่ ทำให้การดำเนินงานไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากผู้นำชุมชนยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนธนาคารขยะ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)