การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • Orapan Thupchai Master of Political Science Program in Politics and Government, College of Innovation and Management, Suan Sunandha Rajabhat University
  • Wijitra Srisorn College of Innovation and Management, Suan Sunandha Rajabhat University

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารงาน, เทศบาลนครปากเกร็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาท ลักษณะ และองค์ประกอบของประชาคม เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test  และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือ บุคลากรในเทศบาลนครปากเกร็ดและคณะกรรมการชุมชน  จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทและลักษณะของประชาคม เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีดังนี้เป็นผู้เสริมสร้างจิตสำนึก ความสามัคคี เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เป็นสื่อกลางในการรับฟังรวบรวมความคิดเห็นและปัญหาของชุมชน และเป็นหน่วยงานการประสานโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มทั้งหลายในชุมชน ในส่วนองค์ประกอบของประชาคม เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยประธานกรรมการชุมชน 1 คน และกรรมการชุมชนไม่เกิน 8 คน  2) ระดับความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด อยู่ในระดับมาก พบว่า ( = 4.12, S.D. = .45)  3) ประชาชนเทศบาลนครปากเกร็ดที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ดโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีที่มีเพศและรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  4) แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด พบว่า แนวทางที่ (1) การสร้างความรัก ความสามัคคีและ เกื้อหนุนกันของสมาชิกในชุมชน (2) การส่งเสริมกระบวนการบริหารงานที่ชัดเจนและการมีส่วนร่วมของชุมชน (3) การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในชุมชน (4) การส่งเสริมให้สมาชิกมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ในครัวเรือน (5) การส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (6) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก (7) การพัฒนาระบบทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในชุมชนให้ทั่วถึง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)