ภาวะความเป็นผู้นำของผู้ใหญ่บ้านตามความคาดหวังของประชาชน ในด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ กรณีศึกษาบ้านโนนทัน ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • Jirapon Barisri Public Administration Program, Faculty of Law and Politics, Roi Et Rajabhat University
  • Kritiya Sukperm Law Program, Faculty of Law and Politics, Roi Et Rajabhat University

คำสำคัญ:

ภาวะความเป็นผู้นำ, ความคาดหวังของประชาชน, บทบาทอำนาจหน้าที่, ผู้ใหญ่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะความเป็นผู้นำของผู้ใหญ่บ้าน ตามความคาดหวังของประชาชนในด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ กรณีศึกษาบ้านโนนทัน ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาบทบาทที่เป็นจริง และบทบาทที่คาดหวังต่อผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนทัน ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามในด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ และ 3) ข้อเสนอแนะภาวะความเป็นผู้นำของผู้ใหญ่บ้าน ตามความคาดหวังของประชาชนในด้านบทบาทอำนาจหน้าที่กรณีศึกษาบ้านโนนทัน ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในบ้านโนนทัน ตำบล งัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะความเป็นผู้นำของผู้ใหญ่บ้าน ตามความคาดหวังของประชาชนในด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำแบบมุ่งเน้นผู้นำแบบชี้นำ และผู้นำแบบสนับสนุน 2) บทบาทที่เป็นจริง ของผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนทัน ประกอบด้วย ด้านนโยบายเร่งด่วนอื่น ๆ ด้านการทะเบียนต่างๆ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน สำหรับบทบาทที่ท่านคาดหวังในตัวผู้ใหญ่บ้าน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ และด้านนโยบายเร่งด่วนอื่น ๆ ด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนด้านการทะเบียนต่างๆ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 3) ผู้ใหญ่บ้านควรศึกษาหาความรู้เรื่องกฎหมายและมีความรู้โดยเฉพาะกฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญาเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างหน่วยงานกับประชาชนในเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพอย่างต่อเนื่อง มีช่องทางการสื่อสารหลายช่องทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน รวมทั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และวางตัวเป็นกลางในทุกสถานการณ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)