ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเอสเอพี กรณีศึกษา: บริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด

ผู้แต่ง

  • Khanittha Pachanee Master of Business Administration Program, Business Administration, Graduate School, Southeast Asia University
  • Chatrpol Maneekool Master of Business Administration Program, Business Administration, Graduate School, Southeast Asia University

คำสำคัญ:

ระบบเอสเอพี, ความสำเร็จในการใช้ระบบ, ปัจจัยผู้ใช้งานระบบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสำเร็จในการใช้ระบบเอสเอพี ของบริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด 2. ศึกษาปัจจัยในการใช้งานระบบเอสเอพี ของพนักงานบริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด 3. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเอสเอพีของพนักงานบริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ใช้ระบบเอสเอพีที่ผ่านการทดลองงานแล้วในหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 230 คน ใช้เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. การศึกษาความสำเร็จในการใช้ระบบเอสเอพีของบริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพและความเชื่อถือได้ (  = 3.81) ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ (  = 3.68) โดยทั้ง 2 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.38) ตามลำดับ 2. การศึกษาปัจจัยในการใช้งานระบบเอสเอพี ของพนักงานบริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด พบว่า มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความรู้และความเข้าใจในงานที่ทำ (  = 3.86) ด้านการให้คำปรึกษาระบบเอสเอพี (  = 3.83) ด้านการฝึกอบรมระบบเอสเอพี (  = 3.72) และด้านทักษะการใช้ระบบเอสเอพี (  = 3.58) ตามลำดับ 3. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเอสเอพีของพนักงานบริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด พบว่า ปัจจัยด้านความรู้และความเข้าใจในงานที่ทำ, ด้านการฝึกอบรมระบบเอสเอพี ด้านทักษะการใช้ระบบเอสเอพี ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเอสเอพี ได้ร้อยละ 56.40 (R2 = 0.564) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุด คือ การฝึกอบรมระบบเอสเอพี (Beta = .451) ทักษะการใช้ระบบเอสเอพี (Beta = .223) และความรู้และความเข้าใจในงานที่ทำ (Beta = .145) ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)