ความสัมพันธ์ของการได้รับค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • Daoduean Lohitpura Bachelor of Business Administration Program in Business Administration, Faculty of Business Administration and Technology, Lampang Inter-Tech College
  • Nimit Jivasantikarn Bachelor of Business Administration Program in Business Administration, Faculty of Business Administration and Technology, Lampang Inter-Tech College
  • Jintana Junruan Bachelor of Business Administration Program in Business Administration, Faculty of Business Administration and Technology, Lampang Inter-Tech College

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ค่าตอบแทน, แรงจูงใจการทำงาน, พนักงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 320 คน ได้ทดสอบหาความเชื่อมั่น  แบบสอบถาม จำนวน 30 ชุด ด้วยวิธีการหาความสอดคล้องภายใน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของคอน บราท ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .895 แสดงว่าแบบสอบถามมีความเชื่อมั่น และเชื่อถือได้  ใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยค่าตอบแทนในการทำงานโดยรวมมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.49) เมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่  เงินเดือน (gif.latex?\bar{x}= 4.55) รองลงมา ค่าล่วงเวลา (gif.latex?\bar{x}= 4.52) เงินประจำตำแหน่ง (gif.latex?\bar{x}= 4.49) และสวัสดิการ (gif.latex?\bar{x}= 4.41) และพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อค่าตอบแทนที่ได้รับในการทำงานของพนักงานที่ทำงานในห้างสรรพสินค้า มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน  โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .018  โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)