รูปแบบถ่ายทอดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา, สิ่งแวดล้อมชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. เพื่อสร้างรูปแบบการถ่ายทอดการบริหารจัดการทระพยากรน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืนจังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อประเมินคุณภาพรูปแบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับประชากรเป็นจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนลิ่มทองซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวนครัวเรือน 1,620 ครัวเรือน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนครัวเรือนตัวอย่างจำนวน 326 ครัวเรือน จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และใช้การสนทนากลุ่มถูกกำหนดโดยวิธีการเจาะจงผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 7 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่(ผู้นำชุมชน) จำนวน 5 คนผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการถ่ายทอดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้หลักการ L-I-A-M-S ดังนี้ Leadership คือ ภาวะผู้นำของผู้นำในชุมชนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความเป็นปราชญ์ชองชุมชน สร้างและเป็นผู้นำครือข่ายสืบสานภูมิปัญญาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากรุ่นสู่รุ่น Innovation คือ นวัตกรรมอันก่อเกิดขึ้นมาจากความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น Area base คือการร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนมีการปรับปรุงพื้นที่แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรอยู่เสมอมีแหล่งน้ำสะอาดสามารถใช้บริโภค Management คือการการบริหารจัดการ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการบริหารจัดการ ชุมชนควรเรียนรู้ในหลักการพึ่งตนเอง และมีส่วนร่วมในการอาสาเพื่อส่วนร่วม และควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้น้ำ และ Synergy คือความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภายนอกชุมชน การประสานความร่วมมือเครือข่ายองค์กรเอกชน มูลนิธิ สมาคม องค์กรการกุศลอื่น ๆ ให้ร่วมสนับสนุน มีนักวิชาการในพื้นที่ 2. การประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เป็นผู้ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.94 ซึ่งผ่านเกณฑ์ประเมินค่าความสอดคล้อง ซึ่งสามารถนำ L-I-A-M-S ไปเป็นรูปแบบการถ่ายทอดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืนจังหวัดบุรีรัมย์ได้