การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างของการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง, การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ, ชุมชนมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างการจัดการธุรกิจจารท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ชุมชนมีส่วนร่วมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์การสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ตรวจสอบความตรงของแบบจำลองสมการโครงสร้างการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ชุมชนมีส่วนร่วมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับ
Chi-square=386.963, df=350, p=.084, CMI/df=1.106, GFI=.947, AGFI=.919, CFI=.996, RMR=.029, RMSEA=.016 ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์ของแบบจำลองมีความสัมพันธ์กันดังนี้ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับด้านการตัดสินใจและการประเมิน พบว่า ด้านการจัดการทั่วไป และด้านการเงินมีอิทธิพลทางตรงต่อด้านการตัดสินใจและการประเมิน ส่วนด้านการตลาดไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อด้านการตัดสินใจและการประเมิน และปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับด้านการดำเนินงานและใช้ประโยชน์ พบว่า ด้านการเงินมีอิทธิพลทางตรงต่อด้านการดำเนินงานและใช้ประโยชน์ ส่วนด้านการจัดการทั่วไปและด้านการตลาดไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อด้านการดำเนินงานและใช้ประโยชน์