ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • รวินทร์ ศรีมงคลชัย นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • วิชากร เฮงษฎีกุล สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการเลือกซื้อ, เสื้อผ้าแฟชั่น, เฟซบุ๊ค

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดของพฤติกรรมการเลือกซื้อ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อ แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม การศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 344 คน ตามแนวคิดของ Krejcie & Morgan. (1970) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square และสถิติวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยวิธี Fisher`s Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมของส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก (=4.29, S.D.=.335) โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.40, S.D.=.446) รองลงมา คือ ลักษณะทางกายภาพ (=4.37, S.D.=.446) รองลงมา คือ ด้านราคา (=4.29, S.D.=.474) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร (=4.29, S.D.=.521) รองลงมา คือ ด้านกระบวน (=4.27, S.D.=.459) รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (=4.26, S.D.=.479) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (=4.18, S.D.=.570) ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)