การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในอนาคต

ผู้แต่ง

  • วชิราภรณ์ น่วมหมวด คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ไอริณ สวัสดี คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เมทิกา ธาดาอภิวัฒน์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พิมพ์นิภา ไพรคำนาม คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธนัสถา โรจนตระกูล คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลง, โครงสร้าง, ประชากรในอนาคต

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันประเทศต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่มีอัตราภาวะการตายและภาวะการเจริญพันธุ์อยู่ในระดับต่ำ อัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงส่งผลให้จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงและวัยผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวอาจทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต เนื่องจากการลดลงของสัดส่วนประชากรวัยแรงงานจึงทำให้ความสามารถในการผลิตของประเทศลดลง ส่งผลให้การผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อบุคคลและมาตรฐานการครองชีพของประชากรลดลง อาจนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศและปัญหาความไม่มั่นคงของสังคมตามมาอีกด้วย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภาครัฐจึงควรมีนโยบายในการชดเชยการลดลงของสัดส่วนประชากรวัยแรงงานที่เหมาะสม สร้างหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ  เพื่อให้ประเทศสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-22

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)