การพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กปฐมวัย ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • หิรัญญา เลิศวิทยานุกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • เพ็ญศรี แสวงเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ข้อมูล, เกมเป็นฐาน, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกมเป็นฐาน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้เด็กสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูล การจัดกระทำกับข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล โดยใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชายและเด็กหญิง อายุ 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเด่นหล้าพระราม 5 หลักสูตรนานาชาติ 3 ภาษา จังหวัดนนทบุรี รวม 15 คน โดยเลือกการสุ่มแบบกลุ่ม ระยะเวลาการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และแบบประเมินความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างประสบการณ์จากเกม ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นที่ 4 ขั้นอภิปรายผลและสรุปผล คะแนนก่อนการจัดประสบการณ์มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.40 และหลังการจัดประสบการณ์มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.40 โดยเด็กสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล จัดกระทำกับข้อมูล จำแนกข้อมูล ทำแผนภูมิและนำเสนอข้อมูลอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง ซึ่งการบูรณาการโดยใช้เกมเป็นฐานสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ เนื่องจากเกมเป็นสื่อที่สร้างความสนุกสนาน สามารถสอดแทรกเนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถนำมาใช้ทั้งการสอนในห้องเรียนปกติและการสอนออนไลน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)