แนวทางการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
แนวทางการป้องกัน, อาชญากรรมไซเบอร์, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1.สภาพปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์ของประเทศไทย 2.แนวทางการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของประเทศไทย และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์ทำงานประเด็นอาชญากรรมไซเบอร์หรืออาชญากรรมทางเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 5 คน 2) นักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านอาชญากรรมไซเบอร์หรืออาชญากรรมทางเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 5 คน และ 3) ตัวแทนประชาชนที่เคยเข้าแจ้งความคดีความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์ในประเทศไทย จำนวน 4 คนได้แก่ ผู้ที่เคยแจ้งความด้านการหลอกลวงข้อมูลทางออนไลน์ (Phishing) จำนวน
1 คน ผู้ที่เคยแจ้งความด้านถูกโปรแกรมประสงค์ร้าย ที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีระบบโทรศัพท์มือถือ (Mobile Malware) จำนวน 1 คน ผู้ที่ประสบเหตุอาชญากรรมโดยการขโมยตัวตนออนไลน์ (Identity Theft) จำนวน 1 คน และผู้ที่ประสบเหตุอาชญากรรมทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) จำนวน 1 คนรวมผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้นจำนวน 14 คน ผลการวิจัย พบว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นรูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้กระทำมุ่งหมายกระทำความผิดในพื้นที่ของโครงข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ Cyberspace หรือผู้กระทำก็อาศัยความสามารถและคุณสมบัติการทำงานที่ไร้พรมแดนของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดต่อระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ทำให้เกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านรูปแบบการกระทำความผิด ความรวดเร็วในการกระทำ ความคล่องตัว ขอบเขตความเสียหายที่กว้างขึ้น แต่การติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิดกลับยาก ดังนั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ การจัดการป้องกัน จึงมีความจำเป็น