ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • จันทรวัทน์ แก้วทอง นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ทิฆัมพร พันลึกเดช อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ขนมขบเคี้ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 2) การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ภายในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนม      ขบเคี้ยว อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.82 และ 3.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .753 และ .742 ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านสถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา วัตถุประสงค์ของการซื้อขนมขบเคี้ยว ค่าใช้จ่ายในการซื้อขนมขบเคี้ยว และความถี่ต่อการตัดสินใจซื้อขนมขบเคี้ยว ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคคล กระบวนการ และลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ในจังหวัดสมุทครสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (R2=.726**)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)