การวิเคราะห์ฟังค์ชั่นการผลิตของการประมงชายฝั่งในประเทศไทย
Abstract
การประมงไทยได้ก้าวหน้ามาเป็นลำดับนับแต่ปี 2505 ซึ่งเป็นปีที่มีการนำเอาเครื่องมือประมงอวนลากแผ่นตะเข้ เข้ามาใช้ แต่การขยายตัวนี้แม้ว่าจะมีผลให้มีการเพิ่มจำนวนเรือประมงและเครื่องมือประมงที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงซึ่งทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับส่งผลสะท้อนในทางลบแก่การประมงขนาดเล็กซึ่งเป็นการประมงแบบพื้นบ้านดั้งเดิมเนื่องจากการจับสัตว์น้ำในปริมาณมากเช่นนี้ได้มีส่วนให้ทรัพยากรสัตว์น้ำโดยเฉพาะในบริเวณใกล้ชายฝั่งร่อยหรอลงอย่างรวดเร็วจนเกิดดุลย์ธรรมชาติ (overfishing) จากการประมาณของกรมประมงในปี 2516 จำนวนประชากรประมงกลับลดลง โดยเฉพาะครัวเรือนประมงแบบยังชีพลดลงถึงร้อยละ 27.5 กล่าวในแง่ หนึ่งก็คือความก้าวหน้าของการประมงพาณิชย์นั้นมีส่วนทำให้ชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กตกอยู่ในสภาพลำบากมากขึ้น เพื่อที่จะพิจารณาถึงปัญหาของชาวประมงขนาดเล็กเหล่านี้ได้มีการพยายามศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมต้นทุนและรายได้ ตลอดจนลักษณะการประมงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสภาวะของชาวประมงขนาดเล็กDownloads
Published
01-01-1983
How to Cite
Panayotou, T., & อดุลวิทย์ ก. (1983). การวิเคราะห์ฟังค์ชั่นการผลิตของการประมงชายฝั่งในประเทศไทย. Kasetsart Journal of Social Sciences, 4(1), 1–16. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kjss/article/view/243150
Issue
Section
Research articles
License
This is an open access article under the CC BY-NC-ND license http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/