ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย

ผู้แต่ง

  • ทรงภพ ขุนมธุรส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐาน, ทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) ในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย ของนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย 2) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อผู้สอนในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{\chi&space;}) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มีความพึงพอใจโดยรวมในการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{\chi&space;}= 4.60, S.D. = 0.42) และ 2) นิสิตมีความพึงพอใจต่อผู้สอนในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{\chi&space;}= 4.61, S.D. = 0.49) สะท้อนให้เห็นว่านิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐานของผู้สอน อันเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา

References

เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน และทัศนีย์ เทียมถนอม. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานกับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และพฤติกรรมทางการเรียนในรายวิชาการวิจัยด้านสื่อสารมวลชน สาระการเรียนรู้เรื่องการทบทวนวรรณกรรม. วารสารชุมนุมวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(1), 68-82.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(59), 1-12.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระมงคลธรรมวิธาน และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(1), 139-154.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-71.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยามีละห์ โต๊ะแม. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารอิสลามศึกษา, 10(1), 26-38.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรวงพร กุศลส่ง. (2562). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาครู สาขาการศึกษาปฐมวัย. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(1), 63-78.

สุภาภรณ์ มาชัยวงศ์ และคณะ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานในประเทศนิวซีแลนด์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(1), 12-22.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 31-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-24

How to Cite

ขุนมธุรส ท., & วิชญาปกรณ์ ก. (2021). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย . วารสารศิลปศาสตร์วิชาการและวิจัย (ออนไลน์), 16(2), 159–170. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/254346

ฉบับ

บท

บทความวิจัย