ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม กับการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ทุนทางสังคม, ทุนทางวัฒนธรรม, สุขภาวะของผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สุขภาวะผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และสุขภาวะผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน ตำาบลคลองตะเกรา อำาเภอ ท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำานวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัด 3 ชุด ได้แก่ (1) ทุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 (2) ทุนทางวัฒนธรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ (3) การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สุขภาวะของผู้สูงอายุอยู่ในระดับดีมาก ( =3.28, SD=1.29) โดยเฉพาะ ทางด้านร่างกายอยู่ในระดับดีมากกว่าสุภาวะด้านอื่น (
=3.93, SD=1.21) ทางด้านจิตวิญญาณหรือปัญญา อยู่ในระดับปานกลาง (
=2.60,SD=1.30) สำหรับการใช้ทุนทางสังคมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุอยู่ใน ระดับปานกลาง (
=2.83, SD=1.31) ทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุได้ในระดับดีมาก (
=3.68, SD=1.28) 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่า ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และ สุขภาวะผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับข้อเสนอแนะจาก ผลการวิจัยนี้ คือ การสร้างทุนทางสังคมด้านองค์กรให้เข้มแข็ง โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรม ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของตนเองและบำาเพ็ญ ประโยชน์ต่อส่วนรวม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว