การปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนในยุควิถีใหม่ (New Normal): กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • วิไล ธรรมวาจา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/arjla.2024.14

คำสำคัญ:

การปรับตัว , กระบวนการปรับตัว , ปัญหาการเรียนออนไลน์ , ยุควิถีใหม่ , นักศึกษาแลกเปลี่ยน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเรียน วิธีการปรับตัว และกระบวนการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักศึกษาจีนในโครงการแลกเปลี่ยนจีน-ไทย รุ่นที่ 15 ที่ศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวน 65 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ความถี่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหา     การเรียนออนไลน์ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัญหาด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านทัศนคติและพฤติกรรม ปัญหาด้านวิธีการเรียน ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านหลักสูตรและการสอน ปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัญหาด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ 2) ผู้เรียนใช้วิธีการปรับตัวแบบสู้มากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 48.40 รองลงมาคือ การปรับตัวแบบประนีประนอม คิดเป็นร้อยละ 47.84 และการปรับตัวแบบ ถอยหนี คิดเป็นร้อยละ 3.76 ตามลำดับ และ 3) กระบวนการปรับตัว มี 4 ระยะ ตามลักษณะ U-Curve Model  ได้แก่ ระยะน้ำผึ้งพระจันทร์ ระยะเผชิญปัญหา ระยะปรับตัว และระยะหลังการปรับตัว ซึ่งมีลักษณะหมุนวนหลายรอบ และบางคนไม่มีระยะน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่จะมีความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมและเริ่มเข้าสู่ปัญหาทันที ดังนั้น การจัดการเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตร และมหาวิทยาลัย    

References

กมลทิพย์ รักเกียรติยศ, ฐิตินันทน์ ผิวนิล, ธนัชพร นามวัฒน์, และ สุนทรารัตน์ เขื่อนควบ. (2560). การปรับตัวทางวัฒนธรรม การเรียนรู้ และการสื่อสารของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(2), 60-72.

กรรณิการ์ แสนสุภา, เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์, และ ผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.

กรุงเทพธุรกิจ. (27 พฤษภาคม 2563). ‘New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต ‘ปกติวิถีใหม่’!. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. ค้นคืนจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508.

กันนยา สุวรรณแสง. (2536). บุคลิกภาพและการปรับตัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.

เจริญ ภูวิจิตร์. (ม.ป.ป.). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. ค้นคืนจาก www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. กรุงเทพมหานคร: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2559). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษานักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 8(2), 230-241.

พฤติกานต์ นิยมรัตน์, จุฑาทิพย์ อาจไพรินทร์, ปุญชรัสมิ์ วัชรกาฬ, และ ชบาไพร รักสถาน. (2564). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 11(2), 1-16.

พิเชษฐ แซ่โซว, ชูศักดิ์ ยืนปาน, และ นัฐิยา เพียรสูงเนิน. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในการศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 26(2), 189-202.

วราภรณ์ รัตนาวิศิษฐิกุล. (2545). ความหวังและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

วรินทร์ พูลผล, และ ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช. (2564). การปรับตัวทางเทคโนโลยีภายหลังโควิด-19: กรณีศึกษานักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. ใน มหาวิทยาลัยรังสิต, การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564. มหาวิทยาลัยรังสิต. (น. 2030-2042.) กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

วิไล ธรรมวาจา. (2564). การศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารศิลปศาสตรปริทัศน์, 16(2), 1-17.

Jiang, N. (2022, September 2). Interview. Telephone conversation.

Ren, Z., Bunpiem, S. & Mahakhan, P. (2012). A study of cross-cultural adaptation of Chinese Students in Thailand: Case study Burapha University. Academic Journal of Humanities and Social Sciences, 20(34), 185-201.

Zhang, Y. (2011). The adaptation process of Chinese students studying in Thailand. (Master's thesis). Mahidol University, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

ธรรมวาจา ว. (2024). การปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนในยุควิถีใหม่ (New Normal): กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารศิลปศาสตร์วิชาการและวิจัย (ออนไลน์), 19(2), 1–19. https://doi.org/10.14456/arjla.2024.14