Publication Ethics
Publication Ethics
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน
1. ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ในวารสาร Lawarath Social E-Journal ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) ที่มีลักษณะวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ แสดงถึงการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบด้าน หรือเสนอแง่มุมความรู้ แนวคิด และประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ ควรมีการอ้างอิงทฤษฎีหรือข้อมูลจากแหล่งเอกสารที่เชื่อถือได้
2. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือกำลังเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งอื่นใดมาก่อน บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร Lawarath Social E-Journal หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการ วารสาร Lawarath Social E-Journal ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
จริยธรรมของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการวารสาร Lawarath Social E-Journal ต้องกำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร การรับรองคุณภาพของผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ความถูกต้องตามหลักจริยธรรมสากล และสามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer Review) และพร้อมให้การชี้แจงความเบี่ยงเบนต่างๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
2. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ โดยเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งจริยธรรม จรรยาบรรณการทำงานอย่างเคร่งครัด
3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ ซึ่งวารสารกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดรายชื่อ (Double blinded)
3. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว โดยมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยดูผลประเมินจากโปรแกรม Copy Catch ของระบบตอบรับบทความออนไลน์ ThaiJo 2.0 เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นเกินตามที่กำหนดไว้ จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที ขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การลงตีพิมพ์บทความนั้นๆ
4. หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า บทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร Lawarath Social E-Journal ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ในกระบวนการกลั่นกรองบทความในวารสารอื่น
2. ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสารอย่างเคร่งครัด ทั้งรูปแบบการจัดเอกสาร และหลักเกณฑ์การอ้างอิง โดยสามารถศึกษาได้ที่ “คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง”
3. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่สร้างข้อมูลเท็จ บิดเบือน ตกแต่ง หรือตัดเนื้อความเพื่อประสงค์ให้สอดคล้องกับผลสรุป
4. ผู้นิพนธ์ต้องมีชื่อของตนเอง และผู้นิพนธ์ร่วม (หากมี) ปรากฏอยู่ในไฟล์บทความที่ส่งเข้ามายังระบบตอบรับบทความออนไลน์ ThaiJo 2.0 ของวารสาร
5. ผู้นิพนธ์ต้องมีการอ้างอิงเนื้อหาต่างๆ ในบทความของตนเอง ทั้งข้อความ ภาพ ตาราง เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยให้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์การอ้างอิงของวารสาร ทั้งนี้ผู้นิพนธ์ต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ซึ่งทางวารสารจะตรวจสอบด้วยโปรแกรม Copy Catch ในระบบส่งบทความออนไลน์ Thaijo 2.0 หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางวารสารจะดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ทันที และหากมีการฟ้องร้อง ทางวารสารฯ จะไม่รับผิดชอบ และให้เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว
6. เมื่อผู้นิพนธ์ได้รับผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ต้องทำการปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งกลับมายังกองบรรณาธิการในกรอบเวลาที่กำหนด
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินควรคำนึงถึงคุณภาพบทความตามหลักวิชาการและจริยธรรมสากลเป็นหลัก โดยพิจารณาความสำคัญ คุณค่าของเนื้อหาในบทความ ใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับ เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ โดยไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน
2. ผู้ประเมินต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลทุกส่วนของบทความที่ทำการประเมินให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. ผู้ประเมินต้องใส่ความคิดเห็นทางวิชาการของตนลงในแบบฟอร์มการประเมิน ที่อยู่ในระบบตอบรับบทความออนไลน์ของวารสาร ด้วยความชัดเจน ปราศจากความอคติ รวมทั้งต้องส่งผลการประเมินบทความตรงตามกรอบเวลาที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด
4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลทุกส่วนของบทความที่ตนประเมินไปเป็นผลงานของตนเอง ยกเว้นการอ้างอิงบทความหลังจากบทความที่ตนประเมินได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว
5. กรณีผู้ประเมินพบว่า บทความที่ประเมินเป็นบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนผลงานอื่น ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที ด้วยการเลือกข้อเสนอแนะ ในขั้นตอนการวิจารณ์ว่า “ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ” และระบุเหตุผลมาในช่อง “คำแนะนำอื่นๆ”