Author Guidelines

วารสาร LAWARATH SOCIAL E-JOURNAL ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้

            1  บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน

            2  บทความวิชาการ (Academic Article) ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป

             3  บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์

 

การส่งบทความ

            บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสาร LAWaRATH SOCIAL E-JOURNAL จะต้องส่งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพของบทความก่อนตีพิมพ์  ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร

            การเตรียมบทความ

            บทความต้องเป็นตัวพิมพ์โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) กำหนดขนาดดังนี้ ชื่อเรื่องขนาดอักษร 18 ตัวหนา หัวข้อขนาดอักษร 16 ตัวหนา เนื้อเรื่องขนาดอักษร 16 ตัวบาง จัดกั้นหน้าหลังตรง และมีระยะห่างบระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาดเอสี่ (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษซ้ายกับด้านบน 1 นิ้ว และด้านขวากับด้านล่าง 1 นิ้ว พร้อมใส่หมายเลขกำกับทางมุมขวาบนทุกหน้าบทความไม่ควรยาวเกิน 10-15 หน้ากระดาษพิมพ์สั้น โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง

             การพิจารณาและคัดเลือกบทความ

             บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double- Blind Peer Review)

 

ส่วนประกอบของบทความ

             1. บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อควรมีความยาว 250 – 300 คำ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัย ควรกล่าวถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัย ควรกล่าวถึงผลสรุปของการค้นคว้าและศึกษา คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา และจะปรากฎอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร และคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)

            2.  บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่าง ๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้ สมมติฐานของการศึกษา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการศึกษาให้ชัดเจน

            3. วัตถุประสงค์ (Objective) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ควรเรียบเรียงให้ชัดเจน

            4.  วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล

            5.  ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จาการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม

            6.  อภิปรายผล (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

            7.  องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย (Originality and body of Knowledge) ควรอธิบายถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาหรือวิจัยให้เป็นความรู้ที่น่าสนใจซึ่งสาธารณชนสามารถเข้าใจได้ จัดหมวดหมู่ความรู้ที่ได้ให้เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมายและเผยแพร่สู่สาธารณชน  

            8.  ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป  

            9.  กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย

            10.  เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงแตกต่างกันตามประเภทของเอกสารหรือแหล่งที่ใช้อ้างอิง ดังนี้

แบบฟอร์มการจัดรูปแบบบทความวิจัย >> ไฟล์ Word   บทความวิชาการ >> ไฟล์ Word

แบบฟอร์มการจัดรูปแบบบทความวิจัย >> ไฟล์ PDF บทความวิชาการ >> ไฟล์ PDF

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) และการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ >> ไฟล์ Word

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) และการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ >> ไฟล์ PDF