ลักษณะบ่งเฉพาะของอัตลักษณ์มนุษย์ในบริบทกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทย

Main Article Content

ณัฐกานต์ พงษ์พันธ์ปัญญา

บทคัดย่อ

อัตลักษณ์ของมนุษย์โดยสภาพมีคุณสมบัติในการสร้างความแตกต่างระหว่างมนุษย์ด้วยกันเพื่อให้จำแนกแยกแยะได้ว่ามนุษย์ผู้หนึ่งแตกต่างจากผู้อื่นอย่างไร ทั้ง อัตลักษณ์มนุษย์ที่เป็นทางกายภาพ อัตลักษณ์มนุษย์ในลักษณอื่น ๆ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เสริมอัตลักษณ์เชิงกายภาพข้างต้น ด้วยคุณสมบัติเช่นว่านี้ทำให้อัตลักษณ์มนุษย์นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีข้อความคิดในส่วนการทำหน้าที่เช่นเดียวกัน กล่าวคือ การสร้างความแตกต่างระหว่างสินค้าของบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี องค์ประกอบทางกฎหมายของเครื่องหมายการค้านั้น มิได้ยอมรับอัตลักษณ์มนุษย์เป็นเครื่องหมายโดยทันที หากแต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขประการสำคัญว่าด้วยลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งมีนิยามความหมายที่แตกต่างไป จากอัตลักษณ์มนุษย์ จากการศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ของมนุษย์ที่จะเป็นเครื่องหมายการค้าได้นั้น ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ อัตลักษณ์มนุษย์มิได้เป็นเครื่องหมายการค้าโดยสภาพ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขของลักษณะบ่งเฉพาะที่เป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้ การใช้และการตีความกฎหมายก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ยอมรับสถานะความเป็นอัตลักษณ์มนุษย์อย่างแท้จริงว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ มิใช่ การพิจารณาว่าอัตลักษณ์มนุษย์มีลักษณะบ่งเฉพาะ เนื่องจากเป็นคำทั่วไปหรือคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย

Article Details

How to Cite
พงษ์พันธ์ปัญญา ณัฐกานต์. “ลักษณะบ่งเฉพาะของอัตลักษณ์มนุษย์ในบริบทกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 13, no. 2 (ธันวาคม 25, 2020): 119–139. สืบค้น เมษายน 23, 2025. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/article/view/239789.
บท
บทความวิจัย

References

Boonma Tejavanija. “Trademark Law.” In Intellectual Property Law Handbook, 118. Bangkok: The Thai Bar Under the royal patronage, 2012. [in Thai]

Chaiyot Hemaratchata. Principle of Intellectual Property Law (Fundamental Knowledge). 12th ed. Bangkok: Nititham, 2019. [in Thai]

Department of Intellectual Property. Guideline to Protect Intellectual Property in Foreign Countries (30 Countries). Bangkok: Department of Intellectual Property, 2005. [in Thai]

Jakkrit Kaunpoth, and Nandana Indananda. Class Handout for Intellectual Property Law Study. 10th ed. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University 2003 [in Thai]

Panida Minalai. “Overlapping of Protection of Trade Name and Trademark.” Assumption University Law Journal 5, no. 1 (January-June 2014): 89-103. [in Thai]

Pattanarat Faugchun. “TRIPs Agreement.” In WTO Regulations 5th Books: Intellectual Property, 20-22. Bangkok: Samlada, 2009. [in Thai]

Sombon Bunphinon. “Reviewing Trademark Patent and Copyright Cases.” In Intellectual Property Law, 183. Bangkok: Office of Judicial Affairs, 1989. [in Thai]

Thatchai Supphaphonsiri. Introduction to Trademark Law. Bangkok: Nititham, 1993. [in Thai]

Vichai Ariyanuntaka. Globalizing of Intellectual Property (Vol 1). Bangkok: Jirat Printing, 2004. [in Thai]

What Tingsamitr. Trademark Law. Bangkok: Nititham, 2002. [in Thai]