มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำหนดมลพิษ ศึกษากรณีลุ่มน้ำลำตะคองตอนล่าง (กม.ที่ 0-24) จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Suphawut Mokmathakul

Abstract

ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการระบายนํ้าทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษที่ใช้ อยู่ในลุ่มนํ้าลำตะคองตอนล่าง (กม.ที่ 0 - 24) จังหวัดนครราชสีมา คือ การกำหนด ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษในนํ้าทิ้งที่ยินยอมให้แหล่งกำเนิดนํ้าเสียแต่ละประเภทระบาย ออกสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยมิได้คำนึงถึงความลามารถในการรองรับมลพิษของแหล่งนํ้า ทำให้ การระบายนํ้าเสียดังกล่าว ล่งผลกระทบต่อคุณภาพนํ้าก่อให้เกิดปัญหานํ้าเสียอย่าง ต่อเนื่อง เพราะแหล่งนํ้าตามธรรมชาติไม่สามารถฟอกตัวเองหรือทำความละอาดได้ทัน จากการศึกษาพบว่า แม้ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2535 จะได้เปิดโอกาลให้มีการกำหนดมาตรฐานการระบายนํ้าทิ้งลงสู่ แหล่งนํ้าโดยคำนึงถึงความสามารถในการรองรับมลพิษได้แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด มาตรฐานการระบายนํ้าทิ้ง มิได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานดังกล่าวให้ลอดคล้องกับสภาพ ของแหล่งนํ้าในการรองรับนํ้าทิ้งไว้แต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหานํ้าเสีย อย่างเป็นรูปธรรม จึงเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายโดยนำรูปแบบการจำกัดปริมาณมลพิษในนํ้าทิ้ง โดยคำนึงถึงความสามารถในการรองรับมลพิษของแหล่งนํ้ามาบังคับใช้กับแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีแหล่งกำเนิดมลพิษแน่นอน

 

Article Details

How to Cite
Mokmathakul, Suphawut. “มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำหนดมลพิษ ศึกษากรณีลุ่มน้ำลำตะคองตอนล่าง (กม.ที่ 0-24) จังหวัดนครราชสีมา”. Naresuan University Law Journal 5, no. 1 (May 1, 2012): 9–28. Accessed May 6, 2024. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/article/view/98788.
Section
Academic Articles
Author Biography

Suphawut Mokmathakul, Lecturer, College of Politics and Governance, Mahasarakham University

อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม