ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำเส้นทางภายในประเทศ กรณีศึกษาสายการบินเอ บี ซี และดี ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

Main Article Content

พิไลลักษณ์ ภูศรี
ช่อ วายุภักตร์

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ท่าอากาศยานนานาชาติ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ จำแนกตามสายการบิน โดยวัตถุประสงค์ที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี จำนวน 400 คน วัตถุประสงค์ที่ 2 และ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ทั้ง 4 สายการบิน คือ สายการบินเอ สายการบินบี สายการบินซี และสายการบินดี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.854 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F-test) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.50 มีอายุในช่วง 21 - 30 ปี ร้อยละ 43.75 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 56.75 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 33.75 และรายได้ต่อเดือน 15,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 34.75 ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการให้บริการของทุกสายการบิน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน และสายการบินต้นทุนต่ำแตกต่างกันมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษานำไปสู่ข้อสรุปความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อสายการบินเอมากที่สุด อันดับรองลงมา คือ สายการบินซี สายการบินบี และสายการบินดี ตามลำดับ


Abstract
This study aimed to 1) investigate low-cost airlines passenger satisfaction, 2) to compare satisfaction in demographic, and 3) to compare satisfaction classified by airlines. The samples of the objective 1 were 400 customers of the low-cost airlines at Udon Thani International Airport. The samples of the objective 2 and 3 were 60 customers, who used all low-cost airlines to Udon Thani. The questionnaires were used to collect data, which had Cronbach’s alpha coefficient of 0.854. The statistics used for data analysis were percentage, means, standard deviation, t-test and F-test. According to the study, it was found that the samples of customers of the low-cost airlines most were female (62.50%), aged between 21-30 years (43.75%), bachelor degree education level (56.75%), private employees (33.75%), and average monthly income of 15,001-20,000 baht (34.75%). The result showed that the customers of the low-cost airlines were satisfied with the high level in Airline A, B, C, and D. In comparing the satisfaction, it was revealed that the differences of gender, age, education level, occupation, and income had similar satisfactions. However, the customers with the different airlines contained different satisfactions at 0.05 level of significant. This study results led to the conclusion that the customers satisfactions were ranking from high to low ranking in Airline A, Airline C, Airline B, and Airline D respectively.

Article Details

How to Cite
ภูศรี พ., & วายุภักตร์ ช. (2017). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำเส้นทางภายในประเทศ กรณีศึกษาสายการบินเอ บี ซี และดี ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี. MBA-KKU Journal, 10(2), 151–173. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/105712
Section
บทความวิจัย