ทุนทางจิตวิทยาทางบวก และบุคลิกภาพเชิงรุก ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน โดยมีความผูกพันในงานเป็นตัวแปรสื่อ: กรณีศึกษา พนักงานขายในกลุ่มธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม Positive Psychological Capital, Proactive Personality, and Performance With Work Engagement as Mediator: a Case Study of Sale Persons in Telecommunication Company

Main Article Content

ศุภชัย วิชชาวุธ
ศรีเรือน แก้วกังวาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางจิตวิทยาทางบวก และบุคลิกภาพเชิงรุก ที่ส่งผลต่อ ผลการปฏิบัติงาน โดยมีความผูกพันในงานเป็นตัวแปรสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามทุนทางจิตวิทยาทางบวก ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก ความผูกพันในงาน และแบบสอบถามประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอย และสถิติทดสอบ ของโซเบล ผลการวิจัยพบว่าทุนทางจิตวิทยาทางบวกโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงาน (r = .368, r = .326, r = .330, r = .351, และ r = .359 ตามลำดับ) บุคลิกภาพเชิงรุกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงาน (r = .330) และความผูกพันในงานโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงาน (r = .437, r = .431, r = .449, และ r = .389 ตามลำดับ) ผลการวิจัยการเป็นตัวแปรสื่อ พบว่าความผูกพันในงานเป็นตัวแปรสื่อสมบูรณ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาทางบวกกับผลการปฏิบัติงาน (Z = 4.223) และ ความผูกพันในงานเป็นตัวแปรสื่อสมบูรณ์ระหว่างบุคลิกภาพเชิงรุกกับผลการปฏิบัติงาน (Z = 4.746)

Article Details

How to Cite
วิชชาวุธ ศ., & แก้วกังวาล ศ. (2019). ทุนทางจิตวิทยาทางบวก และบุคลิกภาพเชิงรุก ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน โดยมีความผูกพันในงานเป็นตัวแปรสื่อ: กรณีศึกษา พนักงานขายในกลุ่มธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม: Positive Psychological Capital, Proactive Personality, and Performance With Work Engagement as Mediator: a Case Study of Sale Persons in Telecommunication Company. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1–21. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/192125
บท
บทความวิจัย